Page 86 - kpi21588
P. 86

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   5-6



                       54.2 อันดับสองคือมีคนเล่าให้ฟัง ร้อยละ 13.9 และอันดับสามคือผ่านสื่อ Line ร้อยละ 12.7 ซึ่งนอกจากนี้ผล

                       ส ารวจยังปรากฎว่า พบเห็นข่าวปลอมมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 27.6

                              (4) จากผลการศึกษาแนวทางในการปรับปรุงระบบ กลไก และโครงสร้างการท างานของ กกต. และ
                       หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า กกต. จะต้องพิจารณาทบทวน ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน

                       ภาคอกชน และ ภาคประชาสังคมให้มากขึ้นอย่างจริงใจและจริงจัง และ มีการจัดสรรงบประมาณให้ภาค
                       ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเป็นอิสระ  ซึ่งเป็นข้อเสนอและเป็นประเด็นที่ได้รับการเรียกร้องจากผู้ให้

                       ข้อมูลเกือบทุกภาคส่วนมากที่สุด อาจเป็นเพราะ การท างานของ กกต. ชุดใหม่ ถูกคาดหวังว่า จะท าหน้าที่ใน
                       การจัดการเลือกตั้งได้อย่างเป็นอิสระ ปลอดจากอ านาจครอบง าทางการเมืองของผู้มีอ านาจ และสามารถเป็นที่

                       พึ่งของประชาชนได้ ประกอบกับการที่ประชาชนมีความตื่นตัวที่อยากจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป
                       ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้มีบรรยากาศของประชาธิปไตยในรอบห้าปี นับแต่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
                       กลางปี พ.ศ.2557 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นไปในทางตรงข้าม ดังที่หลังจากการจัดการเลือกตั้ง กกต. ได้ถูก

                       วิพากษ์วิจารณ์ในการท างานที่ขาดการมีส่วนร่วม และ กกต. มีปัญหาด้านบทบาทการท างานจนเป็นปัจจัยที่
                       ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยตามกรอบแนวคิดในเรื่อง ความเชื่อมั่นทางการ

                       เมือง และสอดคล้องดังที่ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (2562) ได้เสนอผลการวิจัย ปัญหาระบบเลือกตั้งตาม รธน.
                       2560 และปัญหาการจัดการเลือกตั้ง: ศึกษาจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 โดยพบปัญหาส าคัญหนึ่งในห้า

                       เรื่อง คือ ด้านความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มีต่อ กกต. ที่ประชาชนเชื่อมั่น 52.73
                       เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถามในวันเมื่อเลือกตั้ง แต่ถ้าถามหลังการเลือกตั้งตัวเลขอาจน้อยกว่านี้ นอกจากนี้ยังมีความเห็น

                       จากนักวิชาการท่านอื่นอีก เช่น รศ.ดร.โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
                       มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอแนะว่า วันนี้ กกต. ต้องฟื้นความไว้วางใจ ฟื้นความเชื่อมั่น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิด
                       จากการกระท าที่ส่อเจตนาถึงความสุจริตเที่ยงธรรม ถ้าเป็นเช่นนี้ การกระท านั้นก็จะต้องฟื้นความไว้วางใจขึ้น

                       แม้ว่าจะยาก แต่เป็นอาณัติที่ กกต. อาสาไว้ และทราบดีอยู่แล้วว่าจะต้องพบ ต้องมีอุปสรรค การกระท าที่สุจริต
                       และเที่ยงธรรมจะเป็นเกราะก าบังและผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ ขณะที่ สังคมก็ต้องตั้งอยู่บนสติ แยกแยะด้วยเหตุ

                       ด้วยผล เราต้องคิดและเสนอแนะทางเลือกทางออกอย่างสร้างสรรค์ ในขณะที่ ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์
                       ประจ าสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเมินผลงาน กกต. ให้ “ติดลบ” เพราะ การ

                       ท างานไม่โปร่งใสและไม่ได้ชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ท างานตามน ้า ท างานแบบวัวหายล้อม

                       คอก (กมลพล ชิระสุวรรณ, 2562)
                              ตัวอย่างองค์กรที่ประสบความส าเร็จในการเข้ามามีส่วนร่วมที่ไทยน่าจะใช้เป็นตัวอย่าง คือ “ขบวนการ

                       พลเมืองแห่งชาติเพื่อการเลือกตั้งเสรี” หรือ NAMFREL เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของ
                       กลุ่มต่าง ๆ อาทิ ภาคธุรกิจเอกชน คริสตจักรโรมันคาธอลิก และกลุ่มทหารผ่านศึกตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2493 (ต้น

                       ทศวรรษ 1950)  และได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983)  ในยุคที่ชาวฟิลิปปินส์เสื่อม
                       ศรัทธากับการเลือกตั้ง ในสมัยที่นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส เป็นประธานาธิบดี และ ได้รับการรับรองจาก กกต.

                       ในปี 2527 นัมเฟรลถือเป็นองค์กรตรวจสอบการเลือกตั้งระดับประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง (nonpartisan)
                       องค์กรแรกของประเทศ และของทวีปเอเชีย นับเป็นองค์กรต้นแบบขององค์กรเอกชนและองค์กรภาคประชา

                       สังคมมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลกในการตรวจสอบการเลือกตั้ง บทบาทส าคัญครั้งประวัติศาสตร์ของนัมเฟรล
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91