Page 14 - kpi21588
P. 14

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-1



                                                                บทที่ 2



                                                           ทบทวนวรรณกรรม





                              การศึกษาบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อ

                       พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ส าคัญเพื่อศึกษาพัฒนาการ
                       รูปแบบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงการ

                       เลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม จากการสัมภาษณ์และจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม และเพื่อน าเสนอแนวทางการ
                       ส่งเสริมให้พลเมืองมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม โดยผู้วิจัยได้ศึกษา

                       เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้




                       2.1 การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (Free and Fair Election)


                              การเลือกตั้งต้องเสรี (free) และเป็นธรรม (fair) เป็นหลักการที่ประกาศเลือกตั้งที่ส าคัญและได้รับการ
                       ยอมรับกันในสากล ได้รับการประกาศและรับรองโดยสหภาพรัฐสภา (Inter parliamentary) เมื่อวันที่ 26

                       มีนาคม ค.ศ. 1994 ณ กรุงปารีส

                              สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561) ได้นิยามการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมไว้ว่า หลักการเลือกตั้งที่เสรี

                       คือการที่พลเมืองซึ่งมีสิทธิเลือกตั้ง สามารถที่จะแสดงเจตจ านงหรือความต้องการทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มี

                       อิสระในการตัดสินใจที่จะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตัวแทนหรือพรรคการเมืองที่ชื่นชอบ โดย
                       ต้องไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว ถูกบังคับ การลงคะแนนก็จะต้องเป็นความลับ ส่วนการเลือกตั้งที่เป็นธรรม ก็คือ

                       การเลือกตั้งที่พรรคการเมืองและผู้น าทางการเมืองต่าง ๆ ต้องมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการแข่งขัน หาเสียง

                       เพื่อที่จะดึงคะแนนและความนิยมจากประชาชนมาให้ได้ นอกจากพรรคการเมืองจะได้รับโอกาสในการแข่งขัน
                       อย่างเท่าเทียมแล้ว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ต้องมีโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการการเลือกตั้ง ทุกคะแนนเสียงตั้งอยู่

                       บนพื้นฐานของความเท่าเทียม นอกจากนี้ ต้องจัดเลือกตั้งอย่างสม่ าเสมอ ในกรอบระยะเวลาที่ก าหนดไว้ชัดเจน
                       องค์ประกอบสุดท้ายคือ การเลือกตั้งที่เป็นธรรมต้องสะท้อนเจตจ านงและความต้องการของประชาชนอย่าง

                       แท้จริงโดยหลักสากลแล้ว มาตรการหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าการเลือกตั้งด าเนินไปอย่างเสรีและเป็น
                       ธรรม ก็คือการยอมรับให้หน่วยงานที่เป็นอิสระ ภาคประชาสังคม หรือแม้แต่องค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมใน

                       การสังเกตการณ์เลือกตั้งได้ เหล่านี้คือหลักการปกติทั่วไป
                                                                     1




                       1  สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. 2561. ระบบเลือกตั้งเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19