Page 16 - kpi21588
P. 16
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 2-3
ในช่วงปลายทศวรรษ 2470 และเริ่มมีการใช้กันอย่างทั่วถึงนับตั้งแต่เริ่มมีประชาธิปไตยครึ่งใบในช่วงต้น
ทศวรรษ 2520
ทางด้านแนวคิดในการซื้อขายเสียงนั้นปัจจัยหลักที่ส าคัญที่สุดก็คือ ขนาดของเขตเลือกตั้งโดยขนาด
เลือกตั้งที่ใหญ่ ท าให้ผู้สมัครจึงต้องหาผู้ช่วยในการหาเสียงในพื้นที่ ซึ่งคนที่จะช่วยเหลือผู้สมัครได้ดีที่สุดคือ ผู้ที่
มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่มีความผูกพันกับชาวบ้าน เคยให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้าน หรือเป็นเจ้าของกิจการขนาด
ใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการด ารงชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น บางกรณีหัวคะแนน ก็จะเป็นผู้มีอิทธิพลในระดับที่มี
ความผูกพันใกล้ชิดกับชาวบ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ก านัน หัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีสายสัมพันธ์ที่
6
เชื่อมต่อไปยังผู้มีอิทธิพลในระดับอ าเภอหรือจังหวัดนั้น
ในการแจกเงินซื้อเสียงนั้น ผู้สมัครจะส่งเงินไปเป็นทอด ๆ จากผู้มีอิทธิพลในระดับอ าเภอหรือจังหวัด
ผ่านหัวคะแนนในระดับหมู่บ้านไปยังชาวบ้านที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งในที่สุด องค์ประกอบที่ท าให้เกิดการซื้อขาย
เสียงในกระบวนการเลือกตั้ง นั้น มี 3 ฝ่าย ได้แก่ ประชาชน ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และตัวแทนของทางราชการ
ประชาชนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายเสียง เพราะประชาชนที่อยู่ตามชนบทหรือพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ มักจะ
ขาดแคลนสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ าประปา โรงพยาบาล โรงเรียน หรือบางแห่งขาดแคลนปัจจัย ในการ
ด ารงชีวิตประจ าวัน ดังนั้นเมื่อมีการเลือกตั้ง ประชาชนจึงมักเลือกผู้ที่ให้ผลตอบแทนแก่ตนและชุมชน ส าหรับ
ผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น แรงจูงใจ คือ ต าแหน่งหน้าที่ที่ได้รับหลังจากการเลือกตั้ง สามารถน าผลประโยชน์มาให้
ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมากมายมหาศาล จึงท าให้ผู้สมัครยอมลงทุนเป็นจ านวนเงินนับสิบล้านบาทเพื่อซื้อ
เสียง โดยหวังที่จะชนะการเลือกตั้งได้รับเลือกตั้ง เมื่อประชาชนยอมรับผู้สมัครที่ใช้เงินซื้อเสียง และการได้รับ
ผลตอบแทนก็กลายเป็นประเพณีนิยมไปแล้วนั้น ผู้สมัครที่ไม่แจกเงินจึงกลายเป็นคนแล้งน้าใจ ในขณะที่ตัวแทน
ของทางราชการ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ก านัน สมาชิกสภาเทศบาล นักการเมืองท้องถิ่น รวมทั้งข้าราชการ ที่มีอ านาจ
หน้าที่ ที่จะให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นกลุ่มบุคคลที่มักจะได้รับผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจาก
7
ผู้สมัคร นอกจากจะได้เงินเป็นค่าตอบแทนแล้วยังเอื้อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
นอกจากนั้นรายได้และการศึกษายังเป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง George Towar
Ikabal Tawakkal และคณะ (2017) ได้ศึกษาพลเมืองอินโดนีเซียกับการรับเงินซื้อเสียงจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในช่วงการเลือกตั้งอินโดนีเซีย ปี ค.ศ. 2014 โดยมีปัจจัยส าคัญคือเรื่องของรายได้และการศึกษา งานนี้ได้
ชี้ให้เห็นว่ารายได้มีผลต่อการรับเงินซื้อเสียง เนื่องจากผู้มีรายได้น้อยจ าเป็นต้องรับเงินเพราะความจ าเป็นในการ
หาเงินด ารงชีพต่างกับผู้มีรายได้มากที่มีเสรีภาพทางการเงินมากกว่า ในขณะที่เรื่องการศึกษาส่งผลต่อการขัด
เกลาความคิดที่ต่อต้านการทุจริต ท าให้ผู้มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มต่อต้านการรับเงินซื้อเสียงมากกว่าผู้ได้รับ
การศึกษาน้อยกว่า โดยได้จ าแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม conflicted accept money (ไม่เห็นด้วยกับ
การให้เงินซื้อเสียง แต่รับเงินเมื่อถูกซื้อเสียง), กลุ่ม consistent accept money (เห็นด้วยกับการให้เงินซื้อ
6 วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2557. การซื้อเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต 15(2) : 78-87.
7 เรื่องเดียวกัน.