Page 21 - kpi21588
P. 21
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 2-8
บริโภค อาหารต่าง ๆ ทุก 1 -2 สัปดาห์ อย่างต่อเนื่อง 4-6 เดือน ก่อนการเลือกตั้งแก่ครัวเรือนในเขต
เลือกตั้ง เช่น เนื้อหมู ผ้านุ่ง ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ข้าวสาร น้ าหวาน น้ าปลา
2.4 การจ้างงานโดยไม่จ าเป็น โดยผู้สมัครจะจ้างผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปท างานในธุรกิจของตนก่อนการเลือกตั้ง
ประมาณ 4 เดือน มีผลต่อคะแนนเสียงจากลูกจ้างและญาติพี่น้องและพรรคพวกของลูกจ้างด้วย
2.5 การช่วยงานด้วยเงินจ านวนมาก เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการช่วยงาน ทั้งงานศพ งานบวช งาน
แต่งงาน หรืองานอื่น ๆ ทั้งในระหว่างหาเสียงและในระหว่างวาระ จ านวนเงินช่วยงานมีผลต่อคะแนน
เสียงอย่างมาก การช่วยงานมากน้อยขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับเจ้าภาพในลักษณะการอุปถัมภ์ซึ่งกัน
และกัน และความส าคัญในการเป็นฐานเสียง
2.6 การใช้อิทธิพลข่มขู่หัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้ามและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยส่งนักเลงในพื้นที่มาคุมหน่วย
เลือกตั้ง เพื่อให้ผู้มีสิทธิเกรงกลัวและเลือกผู้สมัครฝ่ายตน และข่มขู่หัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้ามด้วยปืน
จับหัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้าม ท าร้ายร่างกายโดยการจับแก้ผ้าและโยนลงน้ า
2.7 การโจมตีคู่แข่งขันโดยการใส่ร้ายป้ายสีและสร้างข่าวลือ โดยปล่อยข่าวความเสียหายส่วนตัวและที่
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ การโจมตีว่าคู่แข่งขันเป็นนอมินีของสามี การสร้างข่าวลือว่าคู่แข่งถอน
ตัวจากการเลือกตั้ง และใช้วิทยุชุมชนประชาสัมพันธ์ตนเองและโจมตีคู่แข่ง
2.8 การท าลายป้ายหาเสียงของคู่แข่งขัน เพื่อมิให้เป็นที่รู้จักติดตา
2.9 การบริจาคเงินให้แก่ชุมชน วัด โรงเรียน และกลุ่มกีฬาต่าง ๆ เช่น วัวลาน ฟุตบอล ฟุตซอล โดยให้
เงินทุนสนับสนุนของรางวัล ค่าชุดกีฬา เครื่องดื่ม การจัดเลี้ยงให้เมื่อได้รับชัยชนะ ทั้งในระหว่างวาระ
และระหว่างหาเสียง
2.10 การพาชาวบ้านไปศึกษาดูงาน ผู้สมัครที่เป็นผู้บริหารเดิมจะกระท าเมื่ออยู่ในต าแหน่ง จะพบได้ใน
อบต. และเทศบาลจ านวนมาก บางท้องถิ่นใช้วิธีการให้ค่าใช้จ่าย (pocket money) ซึ่งเป็นเงินส่วนตัว
แก่ชาวบ้านเพื่อไปใช้จ่ายระหว่างการศึกษาดูงานด้วย
2.11 การหาเสียงพร้อมกับการสร้างนโยบายขายฝัน เกินจริง สัญญาว่าจะสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น
การสร้าง ถนน สะพานข้ามทาง สะพานลอด ซึ่งมีทั้งกระท าจริงและหลอกลวงชาวบ้าน
การซื้อสิทธิขายเสียงถือว่าเป็นสิ่งที่กีดขวางความส าเร็จ เหนี่ยวรั้ง และบ่อนท าลายการพัฒนาระบบการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างใหญ่หลวง เพราะเมื่อมีการลงทุนซื้อเสียงของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง เพื่อ
เข้าสู่การด ารงต าแหน่งที่มีอ านาจทางการเมือง ด้วยแนวคิดเดียวกับการลงทุนในลักษณะเดียวกับการค้าขาย ซึ่ง
ผู้ลงทุนย่อมมุ่งหวังผลตอบแทนหรือก าไรที่จะได้รับการการลงทุนนั้น ผู้ลงทุนซื้อเสียงย่อมต้องหวังผลก าไร
เช่นกัน ดังนั้น เมื่อซื้อเสียงได้ส าเร็จจนได้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ก็ย่อมจะแสวงหาผลประโยชน์จาก
ต าแหน่งหน้าที่ทางการเมืองนั้น เพื่อให้ได้เงินลงทุนที่ซื้อเสียงคืนกลับมาพร้อมด้วยก าไร รวมไปถึงการมุ่ง
13
แสวงหาผลประโยชน์ในรูปตัวเงิน เพื่อจะสะสมไว้ส าหรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ ไป
13 โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. ม.ป. การซื้อสิทธิ์ขายเสียง. สถาบันพระปกเกล้า. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การ
ซื้อสิทธิ์ขายเสียง (สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562).