Page 18 - kpi21588
P. 18
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 2-5
เสียงสูงกว่า ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า การขอให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสัญญาว่าจะไม่ขายเสียงจะช่วยลดการซื้อขาย
10
เสียงในการเลือกตั้งที่ให้เงินซื้อเสียงในจ านวนเงินไม่มาก
2.4 รูปแบบการซื้อเสียง
ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ (2561) ได้แบ่งรูปแบบและกลวิธีในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่น มีรูปแบบในการ
ทุจริตเลือกตั้ง 2 รูปแบบคือ การทุจริตเลือกตั้งทางตรงและการทุจริตเลือกตั้งทางอ้อม
1. การทุจริตเลือกตั้งทางตรง คือ การใช้เงินซื้อเสียง มีวิธีการ 2 รูปแบบได้แก่ การซื้อเสียงโดยตรง และการ
ซื้อเสียงทางอ้อม ดังนี้
1.1 การซื้อเสียงโดยตรง
1.1.1 การซื้อเสียงโดยผู้สมัครในการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็กผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งมีจ านวนน้อย เจาะซื้อเป็นรายบุคคล มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหมู่บ้าน
ใกล้ชิดกัน โดยก าหนดจ านวน เช่น มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 200 คน ผู้ซื้อเสียงประเมินว่าถ้ามี
ผู้สมัคร 2 คน จะซื้อ 120-150 คน ถ้ามีผู้สมัคร 3 คนอาจซื้อเพียง 100 คน หวังเพียง
ชนะคะแนนเลือกตั้งเท่านั้นโดยจ่ายผ่านญาติพี่น้อง
1.1.2 การซื้อหัวคะแนน ผู้สมัครหน้าใหม่ที่หวังชนะเลือกตั้ง และมีทุนเลือกตั้งสูง จะลงทุนกับ
หัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ มีเครือข่ายกว้างขวาง โดยการเสนอข้อแลกเปลี่ยนให้แก่
หัวคะแนน โดยอาจเป็นหัวคะแนนของผู้ชนะการเลือกตั้งเดิมหรือหัวคะแนนฝ่ายคู่แข่ง
เสนอผลประโยชน์หากได้รับการเลือกตั้ง เช่น วัว รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์
1.1.3 การซื้อเสียงโดยผ่านตัวแทนมีความหลากหลาย ดังนี้ 1) การซื้อเสียงโดยผ่านเจ้าพนักงาน
ของรัฐ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ก านัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดชาวบ้านสามารถชี้น า และโน้ม
น้าวจิตใจได้ ส่วนใหญ่เป็นหัวคะแนนในเครือข่ายของนักการเมือง จะพบในการเลือกตั้ง
ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภา อบจ. และ 2) การซื้อเสียงโดยผ่านหัวคะแนน ซึ่งมี
ผลประโยชน์จากการช่วยหาเสียงและซื้อเสียงจะไม่ยึดติดกับผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ขึ้นอยู่
กับผลประโยชน์ที่เสนอมา เกิดขึ้นทุกระดับของการเลือกตั้ง เป็นการซื้อเสียงที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวางระบบหัวคะแนนคนหนึ่งคุมคะแนนเสียง 3-5 บ้าน จาก
เดิมที่คุมทั้งหมู่บ้านหรือ 2-3 หมู่บ้านและมีผลตอบแทนเพิ่มแก่หัวคะแนนถ้าคะแนน“เข้า
เป้า” เพื่อป้องกันการ “อมเงินซื้อเสียง” กลวิธีการซื้อเสียงด้วยเงินนั้นจะซื้อโดยการ
วิเคราะห์ถึงช่วงเวลาในการซื้อหรือจ่ายเงิน ซึ่งมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่
10 Innovations for Poverty Action (IPA). 2013. Campaigns Against Vote-Selling in the Philippines: Do Promises Work?
https://www.poverty-action.org/study/campaigns-against-vote-selling-philippines-do-promises-work (Access December 23,
2019).