Page 15 - kpi21588
P. 15
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 2-2
ในขณะที่สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้งนิยามการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมว่า
Free Election หมายความถึงการเลือกตั้งที่เสรี ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งโดยเสรีไม่ถูกบังคับข่มขู่หรืออยู่ภายใต้
อิทธิพลของใคร ไม่มีก านัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหัวคะแนน ส่วน Fair Election หมายถึง การเลือกตั้งที่เป็นธรรม
หมายถึง การเลือกตั้งที่ผู้สมัครทุกคน พรรคการเมืองทุกพรรคสามารถเสนอตัวในการแข่งขันเพื่อให้ประชาชน
2
ตัดสินใจเลือกได้อย่างเท่าเทียม ไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ สามารถสรุปได้ว่าการเลือกตั้งที่เสรี คือ
ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพในการเลือกตั้งหรือไม่เลือกก็ได้ เมื่อตัดสินใจเลือก สามารถเลือกได้โดยปราศจากการ
ถูกข่มขู่ ส่วนการเลือกตั้งที่เป็นธรรม คือ พรรคการเมืองได้รับโอกาสในการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน
ประเทศไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงได้จนกว่าประชาชนของประเทศจะมีโอกาสเลือก
ผู้แทนผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม การเลือกตั้งเป็นโอกาสส าคัญในการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย
และส่งเสริมการเปิดเสรีทางการเมือง การเลือกตั้งสามารถเป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมการเปิดกว้างทาง
การเมืองและขยายการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมมีบทบาทส าคัญในการ
เปลี่ยนทางการเมืองโดยส่งเสริมประชาธิปไตยและส่งเสริมการเปิดเสรีทางการเมืองซึ่งจะช่วยส่งเสริมการ
3
เปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสงบและเป็นประชาธิปไตยซึ่งน าไปสู่ความมั่นคงและความรุ่งเรือง
หนึ่งในผู้ที่ผูกโยงการเลือกตั้งกับประชาธิปไตยได้ชัดเจนที่สุดคนหนึ่ง คือ Robert A. Dahl นัก
รัฐศาสตร์ชาวสหรัฐ สรุปไว้ชัดเจน 8 ข้อ ถึงคุณลักษณะที่จ าเป็น 8 ประการของระบอบประชาธิปไตย 4 ข้อ
แรก คือ ความจ าเป็นที่ต้องมีในการเลือกตั้ง 1. สิทธิในการเลือกตั้ง 2. สิทธิที่จะมีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็น
ธรรม 3. สิทธิของพรรคการเมืองสามารถแข่งขันหาเสียงได้ 4. สิทธิตามกติกาที่จะแข่งขันเพื่อชิงต าแหน่ง
สาธารณะ 5. ต้องมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กร 6. ต้องมีเสรีภาพในการแสดงออก 7. สิทธิในการ
เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ถูกจ ากัดหรือผูกขาด 8. มีสถาบันการเมืองที่ก ากับนโยบายของรัฐบาลมาจากหรือ
4
สะท้อนความพึงพอใจของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
2.2 การซื้อเสียง
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง หมายถึง พฤติกรรมการทุจริตเลือกตั้งโดยใช้เงินแลกเปลี่ยนกับการลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งซื้อเสียง หรือการเสนอสิ่งตอบแทนในรูปผลประโยชน์หรือทรัพย์สินต่าง ๆ หรืออาจเป็นการสัญญา
ว่าจะให้ทรัพย์สินสิ่งตอบแทนแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ลงคะแนนหรืองดเว้นการลงคะแนนแแก่ผู้สมัครรับ
5
เลือกตั้งคนใดหรือพรรคการเมืองใดในเขตเลือกตั้งนั้น โดยการซื้อสิทธิ์ขายเสียงปราฏขึ้นตั้งแต่มีการเลือกตั้ง
2 สมชัย ศรีสุทธิยากร. 2562. การเลือกตั้งที่เป็นธรรม Free and Fair ของแท้ต้องเป็นอย่างไร? มติชน สุดสัปดาห์.
https://www.matichonweekly.com/column/article_147815 (สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562).
3 USAID. 2012. Supporting Free and Fair Elections. USAID. https://www.usaid.gov/what-we-do/democracy-human-rights-and-
governance/supporting-free-and-fair-elections (Access December 19, 2019).
4 สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. 2561. ระบบเลือกตั้งเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
5 โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. ม.ป. การซื้อสิทธิ์ขายเสียง. สถาบันพระปกเกล้า. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การ
ซื้อสิทธิ์ขายเสียง (สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562).