Page 10 - kpi21588
P. 10
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 1-2
เมื่อกล่าวถึงปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมนั้น ในอดีตเริ่มปรากฎชัดตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ.
2500 ได้รับการกล่าวขานว่า มีการโกงการเลือกตั้งทั้งก่อนเลือกตั้งและในวันเลือกตั้ง มีผู้กล่าวถึงการเลือกตั้งใน
ปีนั้นว่า “…การเลือกตั้งสกปรก สกปรกตั้งแต่ออกแบบรัฐธรรมนูญ ออกแบบกฎหมายเลือกตั้ง ออกแบบ
กระบวนการเลือกตั้งแล้ว ไม่ใช่แค่พลร่มไพ่ไฟ แต่เป้าหมายก็คือ คณะที่ท าการรัฐประหารนั้น มักจะพยายาม
รักษาอ านาจหลังจากที่อยู่ในอ านาจไม่มีการเลือกตั้งไประยะหนึ่งแล้ว และก็จะต้องถ่ายถอนให้มีคนมาร่วมใน
กระบวนการเลือกตั้ง...” ซึ่งเหตุกาณ์หลังจากการเลือกตั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 แล้วก็เกิดการ
ประท้วงในหมู่ประชาชน นักศึกษา และพรรคการเมือง แม้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะพยายามประนีประนอม
กับทุกฝ่าย แต่ท้ายที่สุดก็น าไปสู่การรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (สโมสรศิลปวัฒนธรรม, 2563)
ส าหรับในปัจจุบันส่วนใหญ่ปัญหาก็คือ เรื่องของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ขยายตัวออกไปเป็น
วงกว้าง ทั้งยังมีพัฒนาการทั้งในด้านรูปแบบ เทคนิค และวิธีการที่ซับซ้อนแยบยลมากขึ้นกว่าในอดีต กล่าวอีก
นัยหนึ่ง คือ ปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมก็เติบโตและพัฒนาขึ้นมาควบคู่กับความเจริญของประเทศ
ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ถือเป็นปัญหาส าคัญที่ฝังรากลึกมายาวนาน สังคมไทย
ของเรายังมีนักการเมืองซื้อสิทธิ์ และยังมีประชาชนผู้ขายเสียง ถึงแม้นักการเมืองจ านวนมากจะปฏิเสธเรื่อง
เหล่านี้ แต่ก็มิได้หมายความว่าปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจะหมดสิ้นไปจากสังคมไทย และกลายเป็นตัวชี้วัดชัย
ชนะของการต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นการเลือกตั้งในประเทศไทยจึงถูกวิพากษ์ว่าเป็น
“money talk” หรือ พูดกันด้วยเงิน หากทุ่มเงินมากก็มีโอกาสชนะสูง แต่ถ้าทุ่มเงินมากกว่า แล้วยังมีอ านาจรัฐ
หนุนหลังด้วยก็มีโอกาสชนะสูงสุด ดังนั้น จึงเกิดการซื้อขายเสียงกันอย่างเป็นระบบในทุกระดับของการเลือกตั้ง
(เฉลิมชัย ยอดมาลัย, 2562) ผลกระทบที่ตามมาของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ถือเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง เพราะ
นักการเมืองผู้ซื้อไม่ได้หวังที่จะเข้ามาเพื่อช่วยสังคมส่วนรวมอย่างจริงใจ แต่เห็นเป็นเพียงทางผ่านและ
ผลประโยชน์ของตน หรือเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ตามวิถีทางของเขา คนเหล่านี้จะไม่เห็นใครส าคัญกว่า
ตนเอง จึงไม่สนใจผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2549)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง นอกเหนือจากการน าไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นของ
นักการเมืองแล้ว ยังเป็นสิ่งที่กีดขวางความส าเร็จ เหนี่ยวรั้ง และบ่อนท าลายการพัฒนาระบบการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอย่างใหญ่หลวง เพราะ เมื่อมีการลงทุนซื้อเสียงของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง เพื่อเข้าสู่การ
ด ารงต าแหน่งที่มีอ านาจทางการเมือง ด้วยแนวคิดเดียวกับการลงทุนในลักษณะเดียวกับการค้าขาย ซึ่งผู้ลงทุน
ย่อมมุ่งหวังผลตอบแทนหรือก าไรที่จะได้รับการการลงทุนนั้น ผู้ลงทุนซื้อเสียงย่อมต้องหวังผลก าไรเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อซื้อเสียงได้ส าเร็จจนได้ด ารงต าแหน่งทางการเมือง ก็ย่อมจะแสวงหาผลประโยชน์จากต าแหน่งหน้าที่
ทางการเมืองนั้น เพื่อให้ได้เงินลงทุนที่ซื้อเสียงคืนกลับมาพร้อมด้วยก าไร รวมไปถึงการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์
ในรูปตัวเงิน เพื่อจะสะสมไว้ส าหรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป (โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ นครินทร์
เมฆไตรรัตน์, 2555) จึงอาจกล่าวได้ว่า การซื้อสิทธิ์ขายเสียงท าให้เกิดวังวนของปัญหาการเมืองทุกระดับ
โดยเฉพาะในระดับชาติ และเป็นต้นตอของสภาวการณ์ทางการเมืองไทยที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ที่เรียกว่า
“วงจรอุบาทว์” (Vicious cycle) กล่าวคือ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ย่อมเป็นผลมาจากการซื้อเสียงขายสิทธิ์