Page 9 - kpi21588
P. 9
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 1-1
บทที่ 1
บทน ำ
1.1 ที่มำและควำมส ำคัญ
“การเลือกตั้ง” (Election) เป็นการที่ราษฎรใช้สิทธิของตนเองลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน
เพื่อท าหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การ
เลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ และเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน
ระบอบประชาธิปไตย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2549) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้งที่ถือว่าเป็น
กระบวนการทางประชาธิปไตยตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง
กล่าวคือ ประชาธิปไตยที่แท้จริงที่มีความตั้งมั่น จะต้องมาจากการเลือกตั้งที่สุจริต โปร่งใส ต้องสะท้อนให้เห็น
ถึงความต้องการของประชาชน และที่ส าคัญต้องสามารถตรวจสอบได้ตามหลักการสากล คือ การเลือกตั้ง
จะต้องเป็นไปโดยเสรีและเป็นธรรม (Free and Fair election) ซึ่งนับได้ว่า เป็นการเลือกตั้งที่พึงปรารถนาของ
สังคมไทย และยังสอดคล้องพันธกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้งในปัจจุบันที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งของ
กระบวนการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง (ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2563) ดังนั้น
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม จึงมีบทบาทส าคัญยิ่งในการเสริมสร้างความก้าวหน้าให้แก่การปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยของไทย
การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2476 ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยมีประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งนั้น จ านวน
4,278,231 คน และประชาชนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจ านวน 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 (วีรพา ฐานะ
ปรัชญ์, 2548 และ สภาผู้แทนราษฎร, 2563) จวบจนกระทั่งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นับเป็นครั้งที่ 28
ของการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งบ้านเมืองได้มีการพัฒนาไปจากแต่ก่อนเป็นอันมาก
โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีส่วนส าคัญในการช่วยท าให้ประชาชนมีความรู้ ความกระตือรือร้น
และความตระหนักในการใช้สิทธิของตนเองในการเลือกผู้แทนมากขึ้นกว่าอดีต จนส่งผลให้มีจ านวนผู้มาใช้สิทธิ
สูงถึงร้อยละ 74.69 ของจ านวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่มีการออกมาใช้สิทธิ์มากเป็นอันดับที่สองรองจาก
การเลือกตั้งในปี พ.ศ.2554 แต่กลับพบกรณีของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือ การกระท าที่ท าให้เกิดการเลือกตั้ง
ไม่สุจริตเที่ยงธรรมเพิ่มสูงขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน โดยมีสถิติการร้องเรียนมากถึง 581 เรื่อง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 มีการร้องเรียน 544 เรื่อง โดยเป็นการร้องเรียนในเรื่องของการ
ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ให้เงินทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดมากที่สุด แม้จะมีการก าหนดกฎกติกาและเพิ่มมาตรการ
ที่เข้มข้นทางกฎหมายเพื่อป้องกันการทุจริตอย่างรอบด้านแล้วก็ตาม