Page 4 - kpi21588
P. 4
แนวทางส าคัญเพื่อส่งเสริมบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต
เที่ยงธรรม มีข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงระบบ กลไก และโครงสร้างการท างานของ กกต. และหน่วยงานรัฐที่
เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) กกต. จะต้องพิจารณาทบทวน ในเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ภาคอกชน
และ ภาคประชาสังคมให้มากขึ้นอย่างจริงใจและจริงจัง และ มีการจัดสรรงบประมาณให้ภาคประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมได้อย่างเป็นอิสระ (2) กกต. ต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดท าฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่
เกี่ยวกับการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และนักการเมือง เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและมีแหล่งข้อมูลที่เป็น
มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการมีส่วนร่วม (3) กกต. ต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา
ช่องทางที่มีความปลอดภัยให้ประชาชน เข้ามาแจ้งเบาะแส ช่วยสอดส่องดูแลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะทาง
ออนไลน์/ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) กกต. ต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรณรงค์เพื่อ
ปลูกฝังและสร้างความตระหนัก ตลอดจน ให้ความรู้แก่ประชาชนทุกระดับ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้
จะต้องด าเนินการจัดท าแผนการรณรงค์และให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง มิใช่ท าเพียงเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง
(5) ต้องส่งเสริมเรื่องการกระจายอ านาจ และส่งเสริมบทบาทของประชาชนให้สามารถด าเนินการในลักษณะที่
สามารถถ่วงดุลอ านาจของผู้น าในท้องถิ่นได้ ในส่วนข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ได้แก่ (1) ในส่วน
ของระบบการเลือกตั้ง เสนอให้แก้ไขกฎหมายในเรื่อง บัตรเลือกตั้งต้องกลับไปเป็นบัตรสองใบ (2) ต้องแก้ไข
กฎหมาย ในเรื่อง การลงโทษผู้ซื้อและผู้ขายเสียงให้มีความสมดุล (3) ต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ประชาชนหรือ
ภาคประชาสังคมที่ได้รับการรับรองจาก กกต. สามารถนับคะแนนแบบคู่ขนานได้ (4) เสนอให้แก้ไขกฎหมาย
ในเรื่อง กรรมการประจ าหน่วยเลือกตั้ง ที่ไม่ควรเป็นก านันผู้ใหญ่บ้าน (5) ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ
บังคับใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ฝ่ายรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน
ค าส าคัญ: บทบาทของพลเมือง; การเลือกตั้ง; ประชาธิปไตย