Page 3 - kpi21588
P. 3
ข
บทคัดย่อ
การศึกษาบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อ
พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ส าคัญเพื่อศึกษาพัฒนาการ
รูปแบบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงการ
เลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม จากการสัมภาษณ์และจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม และเพื่อน าเสนอแนวทางการ
ส่งเสริมให้พลเมืองมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม การวิจัยครั้งนี้ใช้
การเก็บข้อมูลโดยวิธีการเชิงคุณภาพ แบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
ด าเนินการเก็บข้อมูล โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Focus Group Discussion)
ในพื้นที่ต่าง ๆ 4 ครั้ง ได้แก่ พื้นที่ภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสกลนคร และ จังหวัด
นครศรีธรรมราช โดยในแต่ละจังหวัดมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีอายุไม่ต่ ากว่า 18 ปี และมีสิทธิ์ในการ
เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา พื้นที่ละ 30 คน รวมผู้ให้ข้อมูล 90 ค น และ พื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย 3 ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้น าชุมชน กลุ่มผู้หญิง
และ กลุ่มเยาวชนและสื่อมวลชน รวมผู้ให้ข้อมูล 31 คน และ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียกับการเลือกตั้ง ประกอบด้วย นักการเมือง นักวิชาการ ผู้แทนภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จ านวน
14 คน รวมจ านวนผู้ให้ข้อมูล 135 คน และ (2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ด าเนินการเก็บข้อมูล โดย
การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย งานวิชาการ ข้อมูลเชิงสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อเสียง ปัญหาการ
เลือกตั้งที่พบ ตลออดจนบทบาทของประชาชนในการแก้ปัญหาการซื้อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เครื่องมือ
วิจัยส าหรับการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ใช้แบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่มีทั้งประเด็นหลักและ
ประเด็นย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาและการสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการแบบอุปนัย
ผลการศึกษา พบว่า พัฒนาการและรูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ยังคงพบการใช้ระบบหัวคะแนน เป็นวิธีการหลัก แต่มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมและกฎหมาย มี
ความแยบยลมากขึ้นท าให้ตรวจสอบได้ยาก รวมทั้ง ยังมีการน าระบบเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามาใช้เป็น
เครื่องมือร่วมด้วย ซึ่งพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เข้ามามีบทบาทในระบบหัวคะแนนมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการซื้อเสียงผ่านทางนโยบายประชานิยม/กลไกทางนโยบายรัฐ โดยเฉพาะโครงการ
สวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐอย่างชัดเจน มีการสร้างระบบอุปถัมภ์ต่อเนื่อง เพื่อสร้างบารมีแบบหยั่งรากฝังลึกใน
พื้นที่ รวมทั้ง การน าเสนอและเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) ทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ส าคัญในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อ
สิทธิ์ขายเสียงที่ส าคัญ คือ บทบาทการท าหน้าที่ของ กกต. อันเป็นผลจากการท างานในอดีตที่ไม่มีประสิทธิภาพ
มีการท างานล่าช้า มีการปฏิบัติสองมาตรฐาน และ ไม่เกิดกรณีของการถูกด าเนินการจากการซื้อเสียง จึงส่งผล
ให้ท าให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและไม่เข้ามามีส่วนร่วม