Page 32 - kpi21365
P. 32

เปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของ
                     ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วและโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์
                     สุจริตความมัธยัสถ์ และสร้างจิตส านึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น
                     กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จ าเป็น มีความทันสมัยมีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และน าไปสู่การ

                     ลดความเหลื่อมล้ าและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่
                     เลือกปฏิบัติและการอ านวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ชาตินั้นได้น าแนวคิดการ
                     จัดการภาครัฐแนวใหม่ มาประยุกต์ใช้นั่นเอง


                     3. การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)


                                   การติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานในระบบราชการก าหนดไว้ในระเบียบการ

                     บริหารราชการแผ่นดินในหลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีรายละเอียด ดังนี้
                                                                                                  6
                                   1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
                                   ตามที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 ได้

                     บัญญัติไว้ว่า การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                     ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าต่อภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอน การลดภารกิจ และการยุบหน่วยงานที่ไม่

                     จ าเป็น การกระจายภารกิจ การกระจายอ านาจการตัดสินใจ และการทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น ตลอดจนการ

                     อ านวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการประชาชน  ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพการ
                     ให้บริการ

                                   จากที่ได้กล่าวไปแล้วดังข้างต้น ถือเป็นแนวทางการบริหารราชการให้เป็นไปอย่างมี

                     ประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองตามความต้องการของประชาชน ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ
                     จ าต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ส่วนราชการให้ค านึงถึง

                     ความรับผิดชอบต่อของประชาชนเป็นส าคัญด้วยการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานต่าง ๆ

                     ของส่วนราชการการเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการ เป็นต้น
                                   2) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

                     พ.ศ.2546
                              7



                            6  อ่านเพิ่มเติมใน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545. (2545, 2 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม
                     119 ตอนที่ 99 ก หน้า 1-13.
                            7  อ่านเพิ่มเติมใน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม).  ราช
                     กิจจานุเบกษา . เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก หน้า 1-16.

                     โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                           13
                     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37