Page 37 - kpi21365
P. 37
3) ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
4) กระบวนการยุติธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
4.1.2 ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการปรับสมดุลและ
พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ส าคัญ ดังนี้
1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ
2) ประสิทธิภาพของการบริการภาครัฐ
3) ระดับความโปร่งใสการทุจริต ประพฤติมิชอบ
4) ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม
4.1.3 องค์ประกอบการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนา
ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
การด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการภาครัฐ มีองค์ประกอบการด าเนินงานจ านวน 8 ด้าน/ประเด็นย่อย ได้แก่
1) องค์ประกอบการด าเนินงานในประเด็นย่อยด้านการบริการ โดยการพัฒนาระบบ
การให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นการพัฒนางานบริการของภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ เพื่อ
สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการ การพัฒนาศูนย์กลางการให้บริการด้วยระบบ e-service และการ
จัดท า web-portal จัดท าฐานข้อมูลงานบริการที่มีประสิทธิภาพให้ประชาชนเข้าถึงการให้บริการของรัฐได้
โดยสะดวก การยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการ การให้บริการ online ผ่านทางเว็บไซต์ และ
โทรศัพท์มือถือ
2) องค์ประกอบการด าเนินงานในประเด็นย่อยด้านการบริหารงานแบบบูรณาการ โดย
การวางระบบบริหารงานราชการแบบบูรณาการ มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบและวิธีการท างานของภาครัฐใน
ระดับต่าง ๆ ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยเน้นการยึดพื้นที่เป็นหลัก
และปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นแบบยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง รวมทั้งวางเงื่อนไขการจัดสรร
งบประมาณให้กระทรวง/กรมต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในสัดส่วนวงเงิน
งบประมาณที่เหมาะสม
3) องค์ประกอบการด าเนินงานในประเด็นย่อยด้านขนาดขององค์กร และการมีส่วน
ร่วมของภาคประชาชน โดยการปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นการ
ทบทวนบทบาทภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเหมาะสม ถ่ายโอนงานให้ภาคส่วนอื่น เพิ่ม
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
18
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ