Page 31 - kpi21365
P. 31

ลดการผูกขาดของภาครัฐ และให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น (วรเดช จันทรศร, 2541; สมเกียรติ ศรลัมพ์,
                     2547)
                                   รัฐบาลต่อ ๆ มามีการใช้แนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น พ.ศ. 2544-
                     2549 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการปรับปรุงระเบียบราชการแผ่นดิน มีการประกาศใช้

                     พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545  สาระส าคัญาคือ การให้ความส าคัญ
                     ผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจ และการยุบเลิก
                     หน่วยงานที่ไม่จ าเป็น รวมถึงการกระจายอ านาจภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอ านาจการ

                     ตัดสินใจ การอ านวยความสะดวก และการตอบสนองความ ต้องการประชาชน  เมื่อมีการประกาศใช้
                     พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีกระทรวงรวม 20 กระทรวง
                     และเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่บางส่วนให้สอดคล้องกับภารกิจ  ที่ส าคัญคือมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบ
                     ราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อท าหน้าที่รับผิดชอบการปฏิรูประบบราชการ ทั้งการจัดระเบียบ ข้าราชการ กระทรวง

                     ทบวง กรม และจัดระเบียบราชการ อีกทั้งยังมีการประกาศใช้หลัก         ธรรมาภิบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่า
                     ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 พระราชกฤษฏีกาฉบับนี้ให้ความส าคัญกับการ
                     ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการบริหารแบบผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนและ
                     ระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ รวมถึงการบริการประชาชนที่สะดวกและรวดเร็ว   จวบจนสมัยรัฐบาลพลเอก

                     ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน) การปฏิรูประบบราชการด าเนินมาอย่างต่อเนื่อง สมัยนี้มีการจัดท า
                     ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                     มาตรา 65  ซึ่งก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรร
                     มาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท าแผน  ต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน

                     ร่วมกัน
                              สรุปได้ว่า คุณลักษณะส าคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ประกอบด้วย การให้บริการที่มีคุณภาพ
                     แก่ประชาชน การลดการควบคุมจากส่วนกลาง และเพิ่มอิสระในการบริหารให้แก่หน่วยงาน การก าหนด การวัด

                     และการให้รางวัลแก่ผลการด าเนินงานทั้งในระดับองค์การและระดับบุคคล การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้าน
                     ของบุคลากร เช่น ระบบการอบรม ระบบค่าตอบแทน ระบบคุณธรรม และเทคโนโลยีเช่น ระบบข้อมูล
                     สารสนเทศเพื่อช่วยให้หน่วยงานสามารถท างานได้ บรรลุวัตถุประสงค์และการเปิดกว้างต่อแนวคิดในเรื่องของ
                     การแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของ
                     ภาคเอกชน ทั้งนี้ การก าหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและ

                     พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐ
                     ของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ
                     แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ท าหน้าที่ในการก ากับหรือในการให้บริการยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับ

                     วัฒนธรรมการท างานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อ
                     การเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน านวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบ
                     การท างานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะ


                     โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                           12
                     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36