Page 26 - kpi21365
P. 26

บทที่ 2


                                            แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                               โครงการวิจัย  “การติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :  ยุทธศาสตร์ชาติด้าน
                     การปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ” นี้ คณะผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและ

                     งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                                1.  แนวคิดการติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ
                                2.  แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่

                                3.  การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

                                4.  แนวคิดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

                                5.  นโยบายและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                                6.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                                7.  กรอบแนวคิดในการวิจัย

                                8.  นิยามศัพท์


                     1. แนวคิดการติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ


                               การติดตามและประเมินผลเป็นหนึ่งในกระบวนการหรือวงจรนโยบายสาธารณะ ซึ่งประกอบไป

                     ด้วย การก าหนดนโยบาย การน านโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบายสาธารณะ นักวิชาการให้
                     ความหมายของการติดตามและประเมินผลนโยบายสาธารณะ ความส าคัญ องค์ประกอบ วิธีการติดตามและ

                     ประเมินผล ดังนี้

                                1.1 ความหมายการติดตามและประเมินผล
                                   การติดตามนโยบายสาธารณะ หมายถึง การติดตามความคืบหน้าดูว่าการด าเนิน

                     นโยบายแต่ละระยะเป็นอย่างไร เป็นการใช้มาตรฐานหรือตัวชี้วัดติดตามดูการปฏิบัติงาน และเป็นพื้นฐานที่

                     จะท าให้การปฏิบัติตามนโยบายบรรลุผลส าเร็จ การติดตามและประเมินผลนโยบายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ
                     เก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อทราบว่าเป้าหมายของแผนงาน/โครงการสัมฤทธิผลมากน้อยเพียงใด การติดตามผล

                     การด าเนินงานยังเป็นการก ากับงานให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ เพื่อให้ผลที่ได้เป็นไปตามแผนที่ก าหนด จึง

                     เป็นงานที่ท าควบคู่ไปกับการจัดท าโครงการตั้งแต่ต้น ผลที่ได้จากการติดตามและก ากับงานสามารถใช้เป็น
                     สารสนเทศในการตัดสินใจแก้ไขและปรับปรุงโครงการได้ (มยุรี อนุมานราชธน, 2547: 234; สุวิมล ติร

                     กานันท์, 2547: 209;  เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2550: 355)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31