Page 27 - kpi21365
P. 27
ส าหรับการประเมินผล หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการน านโยบายสาธารณะไป
ปฏิบัติกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ได้มีการก าหนดไว้ล่วงหน้า การประเมินผล มีสาเหตุมา
จากความต้องการที่จะทราบถึงการด าเนินนโยบายสาธารณะว่าประสบความส าเร็จหรือไม่ โดยการ
ประเมินผลมีทั้งการประเมินก่อนและหลังการด าเนินนโยบาย การประเมินผลนโยบายท าหน้าที่ให้ข้อมูล
สร้างความชัดเจนและเป็นเครื่องมือวิเคราะห์นโยบาย การประเมินผลนโยบายต้องระบุเกณฑ์ที่ชัดเจน เช่น
ประสิทธิผล ความพอเพียง ความเป็นธรรม การสนองตอบและเหมาะสม (ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2540:
125; ธันยวัฒน์ รัตนสัค, 2546: 199; จุมพล หนิมพานิช, 2547: 236; เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, 2550: 405-
406)
1.2 ความส าคัญของการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลมีความส าคัญ เนื่องจากเป็นการตรวจสอบว่านโยบาย แผน
โครงการมีการด าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ มากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคใน
การด าเนินงานอะไรบ้าง หากพบว่ามีปัญหาอุปสรรคจะได้ปรับปรุงแก้ไข การติดตามและประเมินผลยังเป็น
การน าผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุง ยุติหรือสานต่อนโยบายด้วย
1.3 เกณฑ์ในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ
โดยทั่วไป เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลนโยบายสาธารณะมี 6 เกณฑ์ ได้แก่
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความพอเพียง ความเท่าเทียม ความสามารถในการตอบสนองและความ
เหมาะสม ดังนี้
1) ประสิทธิภาพ หมายถึงความสามารถในการผลิตผลผลิตหรือให้บริการโดยมี
ต้นทุนต่ ากว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ การประเมินโดยวิธีนี้ เป็นการเปรียบเทียบ
ต้นทุนต่อหน่วยของผลผลิตหรือบริการ นโยบายที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง นโยบายที่มีการใช้ทรัพยากร
เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต้องต่ า
2) ประสิทธิผล หมายถึง การพิจารณาว่านโยบายสาธารณะนั้น ๆ บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด นโยบายที่มีประสิทธิผล หมายถึง นโยบายเมื่อมีการ
ด าเนินการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ก าหนดไว้
3) ความพอเพียง หมายถึง ความสามารถในการด าเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
ตามทรัพยากรที่มี หรือหมายถึง ความสามารถของการด าเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายภายใต้
เงื่อนไขทรัพยากรที่มีอยู่ หรือหมายถึง ความพอใจที่นโยบายสาธารณะสามารถตอบสนองความต้องการ โดย
พิจารณาจากประสิทธิผล (จุมพล หนิมพานิช, 2549 : 300)
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
8
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ