Page 28 - kpi21365
P. 28

4)  ความเท่าเทียม หมายถึง  การประเมินนโยบายสาธารณะโดยพิจารณาเหตุผล
                     ทางสังคมและกฎหมายนโยบายที่เป็นธรรมคือนโยบายที่จัดสรรผลประโยชน์และให้บริการอย่างเป็นธรรม

                                   5)  ความสามารถในการตอบสนอง  หมายถึง การพิจารณาว่านโยบายสาธารณะ

                     นั้น ๆ  ตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนในสังคมหรือไม่ อย่างไร
                                   6)  ความเหมาะสม หมายถึง การพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของนโยบายสาธารณะนั้น

                     เหมาะสมหรือไม่  ความเหมาะสมของนโยบายใดนโยบายหนึ่งจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง

                     โดยเฉพาะ แต่ต้องอาศัยหลาย ๆ เกณฑ์ประกอบกัน  เกณฑ์ความเหมาะสมจึงต้องพิจารณาคุณค่าถึง
                     วัตถุประสงค์ของนโยบาย ความมีเหตุผลสนับสนุน

                              ในการประเมินนโยบายสาธารณะ มิได้หมายความว่าจะต้องใช้ทุกเกณฑ์ให้ครบถ้วนจึงจะ

                     ประเมินผลนโยบายได้ ในทางปฏิบัติมักใช้เกณฑ์เกณฑ์หนึ่งเป็นหลัก เพื่อแสดงจุดเน้น หรือแสดงให้ทราบว่า
                     การประเมินผลนั้นให้ความส าคัญกับเรื่องใด หากนโยบายสาธารณะใช้เกณฑ์ได้ทุกเกณฑ์ย่อมแสดงว่า

                     นโยบายสาธารณะนั้นมีคุณค่า ในทางปฏิบัติมักใช้เกณฑ์หลายเกณฑ์ประกอบกัน เช่น ความเป็นธรรม

                     ร่วมกับประสิทธิภาพ ฯลฯ
                                1.4 แนวทางในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ

                                   1)  การประเมินผลแบบเทียม การประเมินผลลักษณะนี้เป็นการใช้วิธีการทาง

                     วิทยาศาสตร์ เช่น การใช้แบบสอบถาม การประเมินแบบนี้ไม่ได้ค านึงว่านโยบายสาธารณะนั้นมีประโยชน์
                     มากน้อยเพียงใด

                                   2)  การประเมินแบบแท้  การประเมินผลลักษณะที่คล้ายกับการประเมินผลแบบ

                     เทียม ต่างกันตรงที่การประเมินผลแบบเป็นทางการจะใช้ข้อมูลที่อยู่ในกฎหมาย ในโครงร่างนโยบาย ข้อมูล
                     ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ก าหนดนโยบาย ผู้น านโยบายไปปฏิบัติ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน เช่น ประสิทธิภาพ

                     ประสิทธิผล

                                การประเมินแบบแท้ท าได้หลายวิธีการ ได้แก่ 1. การประเมินแบบสรุปผล (Summative
                     Evaluation) คือ การประเมินว่านโยบายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่  การประเมินจะเกิดเมื่อนโยบายนั้น

                     ก าหนดและปฏิบัติไปแล้ว 2. การประเมินขณะปฏิบัติ (Formative Evaluation) วัตถุประสงค์การประเมิน

                     แบบนี้ต้องการการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่านโยบายนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่







                     โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                            9
                     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33