Page 30 - kpi21365
P. 30

ปฏิบัติงาน 4. เป็นกระบวนการ บริหารที่ให้มีการแข่งขันในการบริการสาธารณะที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ
                     ให้ดีขึ้น 5. ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้มีความทันสมัย และเลียนแบบวิธีการของภาคเอกชน และ 6. เป็น
                     กระบวนการบริหารที่เสริมสร้างวินัยในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน เน้นความประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร
                            นอกจากนั้น องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organization for Economic

                     Co-operation and Development (OECD) (1991) เสนอองค์ประกอบการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ 8
                     ประการ ดังนี้ 1. การพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ เน้นการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการ ทรัพยากร
                     มนุษย์ โดยพิจารณาตั้งแต่การสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ การพัฒนาทักษะคนเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

                     รวมถึงเน้นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน 2. การสร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการตัดสินใจ กล่าวคือ
                     เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องเข้ มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รวมถึงการจัดการในขั้นตอนต่าง ๆ มากขึ้น ตามแนวคิดการ
                     จัดการภาครัฐแนวใหม่ 3. การให้ความส าคัญกับเป้าหมายการด าเนินงานมากกว่ายึดในกฎระเบียบ กล่าวคือ
                     ภาครัฐต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการควบคุมการบริหารและให้ความส าคัญกับเป้าหมายการด าเนินงาน

                     มากกว่า 4. น าเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการ กล่าวคือ การจัดการภาครัฐแนวใหม่เน้นการน าเทคโนโลยี
                     สารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการ และการให้บริการสาธารณะมากขึ้น 5. การให้ความส าคัญกับการบริการ
                     ลูกค้า โดยแนวทางการพัฒนาหรือการปรับปรุง การให้บริการมองที่ความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
                     หรือประชาชนเป็นส าคัญ อีกด้านหนึ่ง มีการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการอย่างต่อเนื่อง 6. การให้ผู้ใช้บริการ

                     เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย กล่าวคือ การเก็บค่าบริการสาธารณะของรัฐใช้หลักการการเข้าใช้ประโยชน์จริง ใครใช้
                     บริการมากต้องจ่ายมาก ใครใช้บริการน้อยจ่ายน้อย หากไม่ใช้เลยไม่ต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายนั้น 7. การ
                     ให้บริการประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของเอกชน กล่าวคือ การด าเนินการบริการประชาชนใด ๆ ของรัฐ มี
                     ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขันหรือมีระบบที่เปิดให้มีการจ้างเหมาภาคเอกชน 8. การ

                     ลดการผูกขาดในการให้บริการ กล่าวคือ การลดการผูกขาดตามแนวทาง การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เน้นการไม่
                     ยึดติด หรือไม่เคร่งครัดมากในกฎระเบียบที่น าไปสู่การผูกขาดในการให้บริการ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้า
                     มามีส่วนร่วมในการให้บริการมากขึ้น ในขณะเดียวกัน เป็นการลดบทบาทของภาครัฐให้น้อยลง

                                   ส าหรับประเทศไทยมีการบริหารงานภาครัฐตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ นับตั้งแต่
                     สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2502-2506 โดยมีการตั้งคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารและองค์การของรัฐขึ้น
                     เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการ (สมาน รังสิโยกฤษฎ์, 2543) ต่อมาพ.ศ. 2523 สมัยรัฐบาลพลเอก
                     เปรม ติณสูลานนท์ มีมาตรการไม่ให้มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ ตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม และกอง
                     โดยไม่จ าเป็น ขณะเดียวกันได้ออกมาตรการจ ากัดการขยายตัวของข้าราชการ และลูกจ้างในส่วนราชการจากนั้น

                     รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2531-2534 มีการออกระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติ
                     ราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ มุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาระบบราชการให้สามารถบริการประชาชน
                     ได้อย่างรวดเร็ว (สมเกียรติ ศรลัมพ์, 2547) ในช่วงสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน พ.ศ. 2534-2535 ได้มีการ

                     เปลี่ยนแปลงส าคัญหลายประการ เช่น มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
                     บริหารงานภาครัฐมากขึ้น มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เอกชนรายย่อยสามารถเข้ามาแข่งขัน
                     ในกิจกรรมต่าง ๆ กับเอกชนรายใหญ่ที่เคยได้รับสิทธิผูกขาดจากรัฐในอดีต หรือเป็นการสร้างระบบการแข่งขัน


                     โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                           11
                     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35