Page 29 - kpi21365
P. 29

2. แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่


                            การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) เป็นแนวคิดที่ให้ความส าคัญกับการ
                     ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐ โดยน าหลักการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ แนวคิดนี้เป็น การ
                     น าวิธีการบริหารงานของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้น
                     ผลสัมฤทธิ์ การค านึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการโครงสร้างที่กะทัดรัด การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน

                     การให้บริการสาธารณะ การให้ความส าคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนการมุ่งเน้น
                     การให้บริการแก่ประชาชนโดยค านึงถึงคุณภาพ (สถาบันพระปกเกล้า, 2563)
                            แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เกิดมาจากกระแสแนวคิด 2 กระแส คือ แนวคิด

                                                                      1
                     เศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ (New Institutional Economics)  และแนวคิดการจัดการนิยม(Managerialism)
                                                                                        2
                     แนวคิดเศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่ ประกอบด้วยแนวคิดทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ  ทฤษฎีผู้ว่าจ้าง-ตัวแทน
                                                                                           4
                     (Principal-Agent Theory)  และทฤษฎีต้นทุนธุรกรรม (Transaction Theory)  ซึ่งมองการเมือง
                                           3
                                                                                               5
                     เปรียบเสมือนปรากฎการณ์ทางการตลาด  ส่วนแนวคิดการจัดการนิยม (Managerialism)  เป็นการน าเอา
                     วิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ  ของภาคธุรกิจเอกชนมาใช้ในการบริหาร
                            Hood (1991) ได้อธิบายถึงแนวคิดและลักษณะส าคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ว่า แนวคิดการ
                     จัดการภาครัฐแนวใหมมีองค์ประกอบ 6 ประการ กล่าวคือ 1. เป็นกระบวนการบริหารที่เน้นการบริหารงานใน
                     แบบมืออาชีพ ท าให้ผู้บริหารมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงาน 2. เป็นกระบวนการบริหารที่มีการ

                     ก าหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลการด าเนินงานอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม 3. เป็นกระบวนการบริหารที่
                     พยายามปรับปรุงโครงสร้างองค์การ เพื่อท าให้หน่วยงานมีขนาดเล็กลง และเกิดความ เหมาะสมต่อการ


                            1  เศรษฐศาสตร์สถาบันใหม่มีลักษณะเป็นสหสาขาวิชา ให้ความส าคัญกับการวิเคราะห์ แบบปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) เพื่อ
                     อธิบายวัตถุประสงค์ การวางแผน และการปฏิบัติของปัจเจกบุคคล โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถน าไปสู่ความเข้าใจสถาบันการเมือง เศรษฐกิจ และ
                     สังคม ซึ่งมักเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการด าเนินชีวิตประจ าวัน
                            2  แนวคิดนี้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมจากการศึกษาพฤติกรรมของปัจเจกชน และเชื่อว่า คนแต่ละคนมีเป้าหมายเป็นของตนเอง
                     และมักกระท าเฉพาะในสิ่งที่ตนเองชอบ เป็นการที่บุคคลได้ท าตามเป้าหมายที่ตนเองวางไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ สถานการณ์ บริบท
                     ที่แต่ละคนต้องเผชิญ
                            3  เป็นการมองพฤติกรรมมนุษย์ในทิศทางเดียวกันกับทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ โดยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเป็นผู้มีเหตุผลและแสวงหา
                     ประโยชน์สูงสุดให้แก่ตนเองเป็นหลัก
                            4  ทฤษฎีต้นทุนธุรกรรมมองไปในทิศทางเดียวกันกับทฤษฎีตัวการ-ตัวแทน โดยมุ่งไปที่พฤติกรรมการแสวงหาโอกาสของฝ่ายตัวแทน
                     แต่ทฤษฎีต้นทุนธุรกรรมเน้นที่การจัดโครงสร้างหน่วยงานให้เหมาะสมกับประเภทของต้นทุนธุรกรรมที่เป็นอยู่ และมองว่าขอบเขตขององค์การ
                     ขึ้นอยู่กับต้นทุนธุรกรรม หรือค่าใช้จ่ายในการด าเนินธุรกิจ ไม่ได้มองเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตเพียงอย่างเดียว
                            5  เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการบริหาร ภาครัฐโดยน าเอาวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ  ของภาคธุรกิจเอกชนมาใช้หรือเป็น
                     การบริหารงานที่เลียนแบบภาคธุรกิจเอกชน  ทฤษฎีการจัดการนิยมมีรากฐานแนวความคิดที่เชื่อมโยงกับการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ ในยุค
                     ดั้งเดิม ตั้งแต่แนวคิดของ Taylor ซึ่งเชื่อว่า หลักการจัดการมีความเป็นสากล ใช้ได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานภาครัฐหรือภาคธุรกิจ แต่การ
                     จัดการยุคดั้งเดิมให้ความส าคัญต่อปัจจัยน าเข้า การยึดถือกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความเป็นธรรม
                     ขณะที่ทฤษฎีการจัดการนิยมเน้นวัตถุประสงค์ และผลสัมฤทธิ์ ในการด าเนินงาน ทั้งในส่วนของผลผลิต ผลลัพธ์และการพัฒนาคุณภาพ ในการ
                     ให้บริการในภาครัฐ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในฐานะผู้รับบริการ


                     โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :
                                                                                                           10
                     ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34