Page 21 - kpi21365
P. 21

กับสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (ราช
                     กิจจานุเบกษา, 2561: 6)

                            อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของประเทศไทย โดยคณะกรรมการ

                     ร่างยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 (2560: 54-56) กลับพบว่า ในการด าเนินงานและบริหารจัดการภาครัฐยัง
                     ขาดการบูรณาการ ขาดความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพต่ า ขาดความโปร่งใส ขาดความรับผิดชอบและขาด

                     ธรรมาภิบาล ปัญหาคอร์รัปชันยังคงพบได้เป็นวงกว้าง การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิผล กฎระเบียบ

                     จ านวนมากล้าสมัยไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงหรือแม้แต่ขัดแย้งกันเอง ประกอบกับมีความล่าช้าในการ
                     กระจายอ านาจ และการแบ่งความรับผิดชอบ ส่งผลให้การแก้ปัญหาและการตอบสนองต่อเป้าหมายการ

                     พัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ขาดประสิทธิผลในการด าเนินนโยบายสาธารณะและการให้บริการสาธารณะที่มี

                     คุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมไทยยังคงสะสมและสร้างความ
                     เดือดร้อนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ,

                     2561: 54-56)

                            จากสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการร่างยุทธศาสตร์ชาติ (2560: 10) จึงได้มีการก าหนด
                     ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-

                     2580) ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ซึ่งมีเป้าหมายส าคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐให้มีความทันสมัย มีขนาดที่

                     เหมาะสม มีวัฒนธรรมการท างานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม ตอบสนองความต้องการของ
                     ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศผ่านแผนปฏิบัติการในระดับ

                     ต่าง ๆ ขององค์กรภาครัฐให้มีเอกภาพ จึงได้น าไปสู่การก าหนดระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และ

                     ประเมินผลการด าเนินการตามยุทธศาสตร์ และแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 ข้อ 5 ในการก าหนดให้มี
                     ระบบการประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยต้อง

                     มีช่องทางให้ประชาซนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ด้วย (คณะกรรมการ

                     ยุทธศาสตร์ชาติ, 2562: 1-2)
                            ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนการบริหารราชการเพื่อให้การด าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

                     บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐนั้นเป็นสิ่ง

                     ที่มีความส าคัญ ดังนั้น สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันวิชาการภายใต้ก ากับของรัฐสภาอันมี
                     มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นที่ปรึกษา ได้เล็งเห็นถึงความจ าเป็นและความส าคัญในสาระ ความส าคัญ ความ

                     จ าเป็น และการด าเนินการให้บรรลุถึงเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ จึงได้น าไปสู่การคึกษาวิจัย เพื่อ

                     สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติของประเทศไทย โดยเลือกประเด็นยุทธศาสตร์ในด้านที่


                      โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ :                      2
                      ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26