Page 175 - 21211_fulltext
P. 175
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
1) ตำบลมีทั้งเทศบาลและ อบต. ลักษณะพื้นที่“ไข่แดง”
ในอดีต พื้นที่ชุมชนที่เป็นศูนย์กลางของตำบลจะได้รับการกำหนด
ฐานะให้เป็นเขตสุขาภิบาล และยกฐานขึ้นเป็นเทศบาลตำบล ซึ่งมีขนาดพื้นที่เล็ก
ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ตำบล ที่กำหนดฐานะเป็นเขตสภาตำบล และยกฐานะขึ้นเป็น
องค์การบริหารส่วนตำบล แบบจำลองลักษณะของชุมชนในพื้นที่จึงมีรูปแบบคล้ายกับ
“ไข่แดง” กล่าวคือ เทศบาลตำบลมีขนาดพื้นที่ต่อประชากรน้อย ล้อมรอบด้วยองค์การ
บริหารส่วนตำบลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่จำนวนประชากรอาจจะมากหรือน้อยแล้วแต่
กรณี ลักษณะดังกล่าว พบว่า มี อปท. จำนวน 18 แห่ง หรือ 9 คู่ (ตารางที่ 6.3)
ตัวอย่างเช่น
1) ทต.ห้วยขะยุง มีพื้นที่รับผิดชอบ 1.65 ตารางกิโลเมตรและ
ประชากร 3,156 คน และ อบต.ห้วยขะยุง มีพื้นที่ 42.2 ตารางกิโลเมตร ประชากร
3,156 คน ระยะทางของสองหน่วยงานห่างกันประมาณ 500 เมตร
2) ทต.อ่างศิลา มีพื้นที่รับผิดชอบ 9 ตารางกิโลเมตร ประชากร
3,286 คน และ อบต. อ่างศิลา มีพื้นที่ 53.51 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ
4,570 คน ระยะทางของสองหน่วยงานห่างกัน 1.7 กิโลเมตร
ตารางที่ 6.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีที่อยู่ในเกณฑ์
การควบรวบ
พื้นที่ จำนวนประชากร รายได้จัดเก็บเอง
ตำบล ชื่อหน่วยงาน
(ตารางกิโลเมตร) (คน) (ล้านบาท)
โพธิ์ไทร ทต.โพธิ์ไทร 7.17 3,064 0.990
อบต.โพธิ์ไทร 47.15 8,425 0.631
ห้วยขะยุง อบต.ห้วยขะยุง 42.2 3,156 0.557
ทต.ห้วยขะยุง 1.65 3,376 0.932
นาส่วง ทต.นาส่วง 7.5 3,221 2.175
อบต.นาส่วง 49 5,846 0.773
ตาลสุม ทต.ตาลสุม 4.94 3,263 0.971
อบต.ตาลสุม 38 5,580 0.495
1 2 สถาบันพระปกเกล้า