Page 180 - 21211_fulltext
P. 180

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     ความสามารถร่วมกัน และ ค) การจัดทำบริการสาธารณะโดยใช้โครงข่ายร่วมกันหรือ
                     ร่วมกับหน่วยงานอื่น จะส่งผลผลดีต่อคุณภาพการบริการสาธารณะและช่วยลด
                     ความเหลื่อมล้ำอย่างน้อยในบางมิติ

                                   ตามร่าง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                     พ.ศ. .... และประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีนัยว่า ก) อบต.
                     5,334 แห่ง จะเปลี่ยนสถานะเป็น “เทศบาลตำบล” ข) หากเทศบาลใดมีประชากร
                     ไม่ถึง 7,000 คน รายได้ต่ำกว่าปีละ 20 ล้านบาท จะต้องควบรวมกับท้องถิ่นอื่นภายใน

                     1 ปี นับตั้งแต่วันที่ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลบังคับใช้
                     ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นอย่างน้อยจำนวนหนึ่งตระหนักว่า หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้
                     การควบรวมอยู่อาจจะถูกกำหนดจากส่วนบน (กระทรวงมหาดไทย) ผู้นำท้องถิ่น

                     มีความเห็นว่า การควบรวมด้วยตนเองโดยสมัครใจน่าจะเป็นผลดีกว่า(สัมภาษณ์ปัญญา
                     กัลป์ตินันท์ 2561) ค) ผู้บริหารตระหนักถึงการเติบโตของเมืองออกจากเทศบาล
                     นครอุบลซึ่งมีพื้นที่จำกัด ผู้บริหารเห็นว่ามาตรการการควบรวมเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่

                     จะสามารถปัญหาความต้องการบริการสาธารณะได้ดีกว่า (สัมภาษณ์มังกร คำเพาะ
                     2561)

                                   ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ

                                   ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ

                     เครือญาติ กล่าวคือ นายกเทศมนตรีตำบลขามใหญ่ (นายปัญญา กัลป์ตินันท์) มีศักดิ์
                     เป็นอาของนายกเทศมนตรีตำบลปทุม (นายมนตรี กัลป์ตินันท์) และนักการเมือง
                     ในระดับท้องถิ่น จำนวนหนึ่งสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติ เช่น การเป็นสมาชิก

                     สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี (นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ นายเกรียง กัลป์ตินันท์
                     เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี) ทำให้การการกำหนดทิศทาง
                     ของท้องถิ่นง่ายขึ้น

                                   ระยะเวลายาวนานที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น


                                   การดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่มีระยะเวลายาวนานสะท้อนถึง
                     ความไว้วางใจของประชาชนต่อผู้นำ ตัวอย่างเช่น นายกเทศมนตรีตำบลขามใหญ่
                     คนปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ในฐานะนายกองค์การบริหาร





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   1
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185