Page 182 - 21211_fulltext
P. 182
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ปทุมมีโรงเรียนในพื้นที่ 2 แห่งแต่ไม่มีโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เทศบาลตำบลขามใหญ่มีโรงเรียนทั้งหมด 12 แห่ง ในจำนวนนี้ 1 แห่งสังกัดในเทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบลไร่น้อยมีโรงเรียนในเขตพื้นที่ 9 แห่งแต่ไม่ได้สังกัดท้องถิ่น
(สัมภาษณ์มังกร คำเพาะ 2561) 5) ความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดทำทะเบียนราษฎร ประชาชนไม่สามารถเดินทาง
มาทำในท้องถิ่นของตนได้ต้องเดินทางไปที่ว่าการอำเภอซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป
ความแตกต่างของคุณภาพบริการสาธารณะ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสามแห่ง พื้นที่ติดต่อกันแต่อำนาจ
หน้าที่ตามกฎหมายแตกต่างกัน ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาว่า หากควบรวมเป็น
เทศบาลนคร อำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะจะเพิ่มขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชน ด้านการจัดทำบริการสาธารณะ
3) ปัญหาด้านงบประมาณ
ความไม่เพียงพอของงบประมาณในการจัดบริการสาธารณะ
ขนาดใหญ่
การจัดทำบริการสาธารณะขนาดใหญ่ต้องใช้งบประมาณสูง เช่น
หากเทศบาลตำบลปทุมจัดทำคลองระบายน้ำต้องใช้งบประมาณอย่างน้อย 100 ล้าน
ต่อหนึ่งเขตพื้นที่ ซึ่งหากต้องใช้อาศัยงบประมาณของเทศบาลต้องใช้ระยะนาน
อย่างน้อย 20 ปี เนื่องจากเทศบาลตำบลปทุมมีรายได้ 55 ล้านบาทในจำนวนนี้เป็น
รายจ่ายด้านบุคลากร 19 ล้านบาท จำนวนเงินงบประมาณดังกล่าวทำให้สามารถ
จัดทำได้เฉพาะโครงการเล็ก ซึ่งมิได้ก่อประโยชน์สูงสุดกับประชาชน (สัมภาษณ์มังกร
คำเพาะ 2561) อนึ่ง การควบรวมเป็นขนาดใหญ่มีโอกาสได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
เพิ่มขึ้น และการจัดเก็บภาษีตามการขยายตัวของเมือง
ภาระค่าใช้จ่ายบุคลากร เป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งพิจารณา
เทศบาลปทุมมีบุคลากร 69 คน เทศบาลตำบลขามใหญ่ 224 คน และองค์การบริหาร
ส่วนตำบลไร่น้อย 124 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 417 คน โดยมีรายจ่ายด้านบุคลากร
รวมทั้ง 3 แห่ง ประมาณ 73 ล้านบาทต่อปี (ตารางที่ 6.5) ผู้บริหารตระหนักว่า ท้องถิ่น
ขนาดเล็กไม่สามารถใช้ประโยชน์จากบุคลากรอย่างเต็มศักยภาพ
สถาบันพระปกเกล้า 1