Page 171 - 21211_fulltext
P. 171

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                      สอง ในส่วนของข้าราชการประจำ พบว่าอาจจะมีอุปสรรคในส่วนของ
                 ปลัดเทศบาลฯ (ซึ่งอาวุโสน้อยกว่า) ปลัด อบต.  โดยอาศัยหลักอาวุโส
                 ปลัด อบต.วังเหนือ จะเข้ารับตำแหน่งปลัดเทศบาลภายหลังการควบรวม  ในขณะที่
                 ปลัด ทต.วังเหนือ จะถูกลดตำแหน่งเป็นรองปลัดเทศบาล ซึ่งหมายถึงการเสียสิทธิ์และ

                 ความรู้สึกไม่เป็นธรรม โดยที่ ปลัดเทศบาลวังเหนือเปิดเผยต่อทีมวิจัยว่า จะนำประเด็น
                 ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เท่าที่ทีมวิจัยสังเกต ข้อกังวลของบุคลากร เกี่ยวกับ

                 ความก้าวหน้าในการดำรงตำแหน่งบริหาร โดยอธิบายว่า ตามสภาพทั่วไป การก้าวหน้า
                 สู่ตำแหน่งบริหาร กรณีเทศบาล ต้องใช้ระยะเวลามากกว่ากรณี  อบต.  การควบรวม
                 จึงส่งผลต่อความรู้สึกของบุคลากรในส่วน อบต. (ซึ่งเคยมีความคาดหวังการเข้าสู่
                 ตำแหน่งบริหารในเวลาสั้น  แต่เมื่อเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาล คาดว่าระยะเวลาการเข้าสู่

                 ตำแหน่งที่สูงขึ้นจะใช้เวลายาวนานกว่าเดิม)

                      สาม การสัมภาษณ์ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ อบต.วังเหนือ  สรุปได้ว่า
                 ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวและข้อมูลนโยบายการควบรวมของ สปท. และรัฐบาล

                 และได้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดในชุมชนเป็นประจำ รวมทั้งการแสดงประชามติ (ในปลายปี
                 2559)  สำหรับคำถามที่เกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มี
                 ข้อกังวล เนื่องจากการควบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน ไม่ได้ส่งผลลดบริการสาธารณะ

                 ในทางตรงกันข้ามประชาชนคาดว่าจะได้รับการบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นท โดยเฉพาะ
                 อย่างยิ่งบริการบางประเภทที่ อบต. มิได้ให้บริการตั้งแต่ต้น (เช่น การจัดเก็บขยะ)





























             1   สถาบันพระปกเกล้า
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176