Page 42 - kpi21193
P. 42

ปฏิบัติขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นำที่ยังไม่ค่อยได้ทำหรือทำบ้างเพียงเล็กน้อย
                      เท่านั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยพัฒนาสมรรถนะองค์กรให้มี

                      ศักยภาพหรือขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างสรรค์และการขับเคลื่อน
                      นวัตกรรมต่อไป


                            1) การบริหารจัดการองค์กรเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรม

                                 ปัจจุบัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกแบบสถานที่ทำงานในลักษณะที่มีความเป็น

                      ทางการค่อนข้างมากโดยแบ่งแยกพื้นที่ทำงานของส่วนงานต่าง ๆ ออกจากกันอย่างชัดเจนเด็ดขาด
                      นายกฯ ปลัด และผู้บริหารระดับกลางมีห้องทำงานของตนเอง และมีห้องประชุมสำหรับใช้ใน         “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      การพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และตัดสินใจทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้

                      ตามแนวคิดการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร (Knowledge – based Development of
                      Public Organizations) ของ National Graduate Institute of Policy Studies (GRIPS)

                      ซึ่งใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ การออกแบบสถานที่ทำงานเช่นนี้ไม่เอื้อหรือไม่สร้างโอกาสให้
                      บุคลากรในองค์กรได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เมื่อบุคลากรในองค์กร
                      ไม่เกิดปฏิสัมพันธ์กัน ก็ย่อมเป็นการลดโอกาสในการเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ ๆ

                      หรือการคิดนอกกรอบด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ควรออกแบบหรือจัดสถานที่ทำงานให้ไม่เป็น
                      ทางการมากนัก โดยสถานที่ทำงานควรเอื้อต่อการพบปะพูดคุยกันได้ง่าย ประกอบกับควรจัดการ

                      ประชุมหรือการพูดคุยกันนอกสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างโอกาสแห่งการแลกเปลี่ยน
                      เรียนรู้ภายในองค์กร และสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยทำให้เกิดความรู้สึก
                      ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน และเอื้อต่อการสร้างสรรค์

                      นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อไป

                            2) การมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อความเติบโตขององค์กร


                              โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหรือการปฏิรูปองค์กรขององค์กร         ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาโดยภาพรวม
                      ปกครองส่วนท้องถิ่นมักเกิดจากนโยบายของรัฐ กฎหมาย หรือนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
                      ขณะที่บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับคำสั่งและนำไปปฏิบัติ กล่าวได้ว่า บุคลากร

                      ทำเพียงตามคำสั่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่บุคลากรจะไม่เข้าใจถึงเป้าหมายหรือประโยชน์ของ
                      การเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจไม่พอใจ ไม่อยากทำ หรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะรู้สึก

                      ไม่คุ้นเคยและคิดว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงไม่บรรลุเป้าหมายและไม่ยั่งยืน










                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47