Page 271 - kpi21193
P. 271

5. ผู้นำสามารถบริหารจัดการอำนาจทางการเมืองของตนได้ (Ability to exercise
                  political power) ผู้นำต้องนำพาผู้คนมาอยู่ร่วมกัน กระตุ้นให้ผู้อื่นกระทำสิ่งต่าง ๆ และ
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  พยายามในการทำให้พวกเขามีเป้าหมายร่วมในทิศทางเดียวกันแม้ว่าโดยธรรมชาติมนุษย์จะมี
                  มุมมองที่แตกต่างกันเสมอ และผู้นำควรพัฒนาทักษะด้านนี้ให้แก่ลูกน้องมากกว่าการบังคับให้
                  ลูกน้องมองโลกเพียงด้านเดียว


                          ประโยชน์ของการบริหารจัดการอำนาจทางการเมืองนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาไป
                  ในทิศทางเดียวกันของผู้ปฏิบัติงาน พร้อมกับประชาชนในท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ประโยชน์ของ

                  การคิดวิเคราะห์ทั้งสองแง่มุม ทั้งด้านบวกและด้านลบ จะทำให้การดำเนินนวัตกรรมสร้างรายได้
                  ลดรายจ่าย และปลดหนี้ สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยการวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะ

                  เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั่นเอง

                          เมื่อคำนึงจากค่าคะแนนประเมินถึงความสามารถในการบริหารจัดการอำนาจเพื่อ

                  ขับเคลื่อนให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ของนายกฯ จากบุคลากรภายในองค์กรร้อยละ
                  98.67 และ จากภาคประชาชนร้อยละ 97.77 ประกอบกับข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์
                  รวมด้วย ทำให้ผู้วิจัยวิเคราะห์ในตัวผู้นำขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่พบว่า ในส่วนของ

                  ทักษะในการบริหารจัดการอำนาจทางการเมืองของนายกฯ มีความชัดเจนในแง่ของการเป็น
                  ผู้กำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่เคยมีคนทำ เช่น การเปิดโรงเรียน

                  ผู้สูงอายุ การดำเนินโครงการไข่ไก่ไอโอดีน  จนเป็นผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในการเสริมสร้าง
                  รายได้ ลดรายจ่าย และปลดหนี้ให้แก่ชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงการมีเป้าหมายในการบริหาร
                  ที่ชัดเจนของตัวผู้นำองค์กร


                        6. ผู้นำควรบ่มเพาะปัญญาเชิงปฏิบัติให้กับผู้อื่นได้ (Ability to foster phronesis in
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   others) ผู้นำไม่ควรมองว่าความรู้แบบปัญญาเชิงปฏิบัติควรถูกสงวนไว้สำหรับผู้บริหารระดับสูง

                  ขององค์กรเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรกระจายไปให้ทั่วองค์กร ดังนั้น การบ่มเพาะปัญญาเชิงปฏิบัติ

                  ให้กับบุคลากรในองค์กรถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้นำด้วยวิธีการต่าง ๆ

                          เมื่อคำนึงจากค่าคะแนนประเมินถึงความสามารถในการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่

                  ที่มีปัญญาเชิงปฏิบัติ (องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง) ของนายกฯ จากบุคลากรภายใน
                  องค์กรร้อยละ 98.00 และ จากภาคประชาชนร้อยละ 98.43 ประกอบกับข้อมูลที่ได้รับจาก

                  การสัมภาษณ์รวมด้วย ทำให้ผู้วิจัยพิจารณาภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่
                  ในแง่ของการบ่มเพาะปัญญาเชิงปฏิบัติให้กับบุคลากร และประชาชนในท้องถิ่น พบว่า นายกฯ
                  มีภาวะความเป็นผู้นำในด้านนี้สูง พิจารณาได้จากการสร้างนวัตกรรมเสริมสร้างรายได้ ลดรายจ่าย






                2 2   สถาบันพระปกเกล้า
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276