Page 272 - kpi21193
P. 272
และปลดหนี้ ถือเป็นนวัตกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งในแง่ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการเกษตรแบบผสมผสาน
ความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน ความรู้หลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ความรู้กลยุทธ์ทางการตลาด
ความรู้ด้านการค้าขายออนไลน์ เป็นต้น
จุดแข็งในการสร้างนวัตกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่
ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมการเสริมสร้างรายได้ สามารถขับเคลื่อนโครงการให้ประสบ
ความสำเร็จได้ เป็นผลจากหลายส่วน โดยจุดแข็งหลักของนวัตกรรมเสริมสร้างรายได้ มีดังนี้ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
1) ฐานของทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ ดำเนินการและทำหน้าที่
เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ และ การตั้งงบประมาณสนับสนุนการดำเนิน
โครงการ ด้วยการกำหนดให้โครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลนาพู่
2) การมีจุดแข็งจากเครือข่าย กล่าวคือ เครือข่ายมีเป้าประสงค์เดียวกันกับการจัดทำ
นวัตกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่
3) จากวิสัยทัศน์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ พบว่า ผู้นำมีความชาญฉลาด
ในการสื่อสารกับประชาชนและบุคลากรทำให้นวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง
4) ผลสำเร็จของนวัตกรรมอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นหรือได้รับรางวัลมาก่อน กล่าวคือ ผลจาก
นวัตกรรมอื่นสามารถเอื้อให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมเสริมสร้างรายได้ อีกทางหนึ่ง เนื่องจาก
สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดความเชื่อใจในตัวผู้นำ ส่งผลให้เมื่อมีการเชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วม
โครงการที่ริเริ่มจัดทำขึ้นใหม่จึงสามารถระดมภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างง่ายดาย
มากขึ้น ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
สถาบันพระปกเกล้า 2