Page 114 - kpi21193
P. 114

จุดแข็งดังกล่าวยังเกิดจาก “ความพร้อมในการบุกเบิกสิ่งใหม่” โดยนายกฯ กล้าที่จะ
                      เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือริเริ่มวิธีการทำงานใหม่ๆ แม้ว่ามันขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติแบบเดิมๆ

                      ที่เคยทำมา

                              สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งในด้านศักยภาพความเป็นผู้นำประการต่อมาของนายกเทศมนตรี

                      นครภูเก็ต คือ “ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญของสถานการณ์และสิ่งต่างๆ
                      ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน” อันเป็นผลมาจากนายกฯ มี “ความสามารถในการเห็น
                      สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงโดยปราศจากอคติ” กล่าวคือ นายกฯ มักจะสำรวจสภาพปัญหาที่

                      เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตัวเอง เช่น การลงพื้นที่สำรวจดูด้วยตนเอง การพูดคุยกับประชาชน ฯลฯ    “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      นอกจากนี้ จุดแข็งดังกล่าวยังเกิดจาก “การแสวงหาความรู้มาปรับใช้กับการทำงาน” ซึ่งนายกฯ

                      มักจะแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์จากภาคส่วนอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ)
                      หรือจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน


                              สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งด้านศักยภาพความเป็นผู้นำประการที่สาม คือ “ความสามารถ
                      ในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้าง
                      องค์ความรู้ใหม่” มาจากการที่เทศมนตรีนครภูเก็ตมี “ความสามารถในการสร้าง “บะ” (พื้นที่

                      และกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน) ที่มีประสิทธิผล” ทั้งนี้ นายกฯ มักจะ
                      ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัด

                      บอร์ดให้ความรู้ การถอดบทเรียนการทำงานโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้อำนวยการแล้วเผยแพร่
                      ลงในวารสารของเทศบาลนครภูเก็ต เผยแพร่ทางหน้าเว็บไซต์ของเทศบาล หรือแม้กระทั่งในวง
                      รับประทานอาหารก็จะมีการพูดคุยกัน นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรแล้วก็มี

                      การส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับภาคส่วนอื่นๆ เช่น ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                      ซึ่งมีทั้งการสื่อสารที่ผ่านการประชุมประชาคม การต่อสายตรงเพื่อให้ข้อคิดเห็น หรือแม้กระทั่ง

                      ผ่านทาง Application Line เป็นต้น

                              สมรรถนะที่เป็นจุดแข็งประการที่สี่ คือ “ความสามารถในการสื่อสารถึงสาระสำคัญ      ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ของสถานการณ์และสิ่งต่างๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจ” อันเกิดขึ้นจาก “ความสามารถในการสร้างกรอบ

                      ความคิด” กล่าวคือ นายกฯ มักจะใช้การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ หรือแผนภาพ ประกอบ
                      การอธิบายเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจสาระสำคัญที่นายกฯ ต้องการสื่อสารได้อย่างชัดเจน
                      นอกจากนี้ จุดแข็งดังกล่าวยังเกิดขึ้นจาก “ความสามารถในการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทเฉพาะ”

                      คือ นายกเทศบาลนครภูเก็ตสามารถถ่ายทอดคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ประชาชน และภาคส่วนอื่น
                      เข้าใจได้ตามสถานการณ์







                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   10
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119