Page 265 - kpi21190
P. 265
265
รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ค.ศ. 2019 ทำให้เรื่องการสร้างความเสมอภาคได้รับ
การพูดถึงอีกครั้ง งานวิจัยชิ้นนั้นกล่าวว่าความเสมอภาคทางการศึกษาต้องมองทั้งแง่อุปสงค์
และอุปทาน เนื่องจากที่ผ่านมองมองเพียงแค่อุปทานเท่านั้น คือ สร้างโรงเรียนเพิ่ม, หาครูเพิ่ม,
ขยายห้องเรียน, ซื้อวัสดุอุปกรณ์ในโรงเรียน แต่มักลืมอุปสงค์ คือเหตุผลของการไม่ได้รับ
การศึกษาคืออะไร พ่อแม่ไม่ส่งลูกเรียนเพราะเหตุใด ความยากจน หรือการขาดโอกาสทาง
การศึกษาหรือไม่ ดังนั้นนโยบายการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาจึงไม่ใช่แค่การต้องการ
เงินอัดฉีดจากทางภาครัฐให้โรงเรียนได้เงินเพิ่ม แต่เป็นการให้ทรัพยากรไปในฝั่งของอุปสงค์
(ประชาชนหรือเยาวชนในวัยเรียน) ด้วย ซึ่งพบว่ามีประชากรที่อยู่นอกระบบการศึกษากว่า
ร้อยละ 5-10
ดังนั้นกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจึงได้นำเนินการจัดสรรคเงินอุดหนุน
ยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาคให้กับเยาวชนจำนวน 800,000 คนทั่วประเทศ
เพื่อให้เห็นว่าเด็กเยาวชนเหล่านี้ควรได้รับการอุดหนุนและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษา โดยการ
คัดกรองจะต้องถูกคัดกรองโดยคนในชุมชน เน้นชุมชนเป็นฐานในการคัดกรอง ทั้งผู้ปกครอง
เจ้าหน้าที่รัฐ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะต้องมีส่วนในการให้ข้อมูลถึงความลำบากของเด็กหรือ
เยาวชนที่ได้รับเงินอุดหนุนนี้ โดยจัดเก็บเอกสารผ่านระบบออนไลน์เพื่อความรวดเร็วและ
ความโปร่งใส แม้เด็กจะได้จำนวนเงินไม่มาก (ปีละ 3,000 บาท) แต่ก็นับเป็นสิ่งที่สำคัญ
ที่ทางกองทุนฯ ได้ริเริ่มว่าการลดความเหลื่อมล้ำทางการใช่ศึกษาไม่ใช่ว่าเอาเงินไปเพิ่มในระบบ
การราชการ แต่ต้องให้คนที่เขาได้เรียนมีเงินเรียนจริง ๆ ถ้าทำได้ก็จะนำไปสู่คุณภาพ
ประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้นได้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 4