Page 263 - kpi21190
P. 263
263
ย ายหล ประ
เพื่อความเสมอภาค าง าร า
ไกรยศ ภัทราวาส*
ความเสมอภาคทางการศึกษาและคุณภาพประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่
แยกกันแทบไม่ออก เนื่องจากสุดท้ายแล้วผู้ที่ใช้กลไกประชาธิปไตยล้วนได้รับ
ความรู้จากกระบวนการศึกษาทั้งนั้น แต่การตอบคำถามว่าคุณภาพ
ประชาธิปไตยจะนำมาซึ่งความเสมอภาคทางการศึกษา หรือความเสมอภาค
ทางการศึกษาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยนำมาซึ่งคุณภาพประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่ง
เปรียบเปรยที่หาคำตอบไม่ได้เช่นเดียวกับไก่หรือไข่อะไรเกิดขึ้นก่อน แม้จะหาคำตอบ
ไม่ได้แต่สิ่งที่สังเกตได้ในประเทศไทยในแง่ของนโยบายของรัฐนั้นพบว่ามีแนวโน้มที่ก่อให้
เกิดความเสมอภาคทางการศึกษามากขึ้น
ดร. ไกรยศ ได้นำเสนอให้เห็นว่าประเทศไทยมีการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง
การศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยกล่าวถึงหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศ
ไทยที่ได้ถูกเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ว่าด้วยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทาง
การศึกษา ซึ่งการถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมีความพยายาม
มาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว ในประเทศไทยมีปฏิญญาจอมเทียนที่กล่าวถึงการสร้างความเสมอภาค
ทางการศึกษามาตั้งแต่ ค.ศ. 1990 อันเป็นการจุดประกายการศึกษาเพื่อปวงชน (education
for all) ซึ่งใน ค.ศ. 2020 จะครบรอบปฏิญญาจอมเทียนจำนวน 30 ปี เป็นการนับถอยหลังสู่
เป้าหมาย SGDs อันจะทำให้เห็นว่าอะไรที่เป็นบทเรียน อะไรคือข้อท้าทายที่ทางกองทุน
ความเสมอภาคเพื่อการศึกษาต้องศึกษาและทำต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ว่าใน
10 ปีข้างหน้าจะสามารถสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้หรือไม่ ประการหนึ่งที่จะทำคือ
* ดร., รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอ
ภาคทางการศึกษา สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา