Page 109 - kpi21190
P. 109

109



                  ไม่มั่งคั่งและไม่เท่าเทียมก็มีผลในทางลบเช่นกันซึ่งชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ทำให้

                  ความแตกต่างในระดับรายได้ลดลงทำให้คนหันหลังให้กับเผด็จการ ข้อสรุปเหล่านี้แสดงให้เห็น
                  ว่าสิ่งสำคัญคืออการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเท่าเทียมกันของรายได้ที่ต้องคำนึงทั้ง
                  สองด้าน หรืออีกทางหนึ่งการรวมกันของทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและความเท่าเทียมกันของ
                  รายได้อาจเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนทั้งระบอบประชาธิปไตยและการปกครองแบบ

                  เผด็จการ

                       ข้อสรุปของงานศึกษาเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนประชาธิปไตยนั้นสามารถ
                  ถูกกำหนดได้ด้วยความขัดแย้งที่กระจายอยู่ในสังคมและดูเหมือนจะเป็นปัญหาในบริบท
                  ของเอเชียตะวันออก จากการศึกษามีเอกสารจำนวนมากในสังคมตะวันตกที่เน้นเรื่องนี้และ

                  การศึกษาชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งในการกระจายทรัพยากรมีความเชื่อมโยงที่สำคัญต่อแนวทาง
                  อำนาจนิยมหรือระบอบเสรีประชาธิปไตยที่อาจจะไม่ดึงดูดคนที่มีรายได้สูงเพราะอาจจะขัดแย้ง
                  กับค่านิยมและความเชื่อหลักซึ่งมีให้คุณค่าสิ่งอื่นมากกว่าความสนใจทางวัตถุ


                       กรอบแนวทางความสัมพันธ์ที่มีอยู่เรื่องความไม่เท่าเทียมและระบอบประชาธิปไตย
                  ไม่สามารถอธิบายได้อย่างน่าชัดเจนสำหรับกรณีประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออก หลักฐาน
                  ระดับจุลภาคเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เท่าเทียมและประชาธิปไตยมีความหลากหลาย
                  พบว่าผลกระทบของความไม่เท่าเทียมกันในระบบส่งผลกระทบน้อยลงต่อสถาบันที่ใช้เสียง
                  ข้างมากจากประชาชนและแสดงให้เห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นอันตรายต่อระบอบ

                  การปกครองแบบเผด็จการมากกว่าระบอบประชาธิปไตย

                       ผลกระทบของความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องการเมืองกระจายอยู่ในสถาบันการเมืองต่าง ๆ
                  รวมทั้งปัจจัยด้านประวัติศาสตร์และโครงสร้างด้วย พบว่าการกำหนดจำนวนการแจกจ่าย
                  ทรัพยากรเป็นการระบุอุดมการณ์ว่าเป็นซ้ายหรือขวาแต่แนวโน้มผลกระทบน้อยกว่าในกรณีของ

                  เอเชียตะวันออกรวมทั้งยังพบว่าความไม่เท่าเทียมนั้นมีบทบาทน้อยมากในการระดมมวลชน
                  ในกลุ่มคนจน โดยการเมืองการเลือกตั้งในเอเชียตะวันออกชี้ให้เห็นว่าสถาบันการเลือกตั้งเอง
                  อาจไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะระดมเสียงจากคนยากจนเพื่อประโยชน์ทางการเมืองเว้นแต่

                  ความไม่เท่าเทียมจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าแรงกดดันของความไม่เท่าเทียม
                  ในการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งนั้นถูกกำหนดโดยรูปแบบของความขัดแย้ง
                  ในสังคมมากกว่า ข้อสรุปของงานนำเสนอของผมคือการเมืองและความไม่เท่าเทียมในเอเชีย
                  ตะวันออกนั้นไม่มีผลต่อกันแม้จะมีความไม่เท่าเทียมเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามในเอเชียตะวันออก    เอกสารประกอบการอภิปรายร่วมระหว่างผู้แทนจากต่างประเทศ
                  มีลักษณะของการเมืองแบบกระจายที่น้อยลง แนวทางผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเฉลี่ยหรือรูปแบบ

                  พรรคฝั่งซ้ายฝั่งขวาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีข้อจำกัดสำหรับการเมืองในภูมิภาคนี้
                  มีงานวิจัยมากมายที่บอกว่าลักษณะที่แตกต่างของภูมิภาคนี้เกิดจากปัจจัยทางประวัติศาสตร์ทาง
                  สังคมและการเมือง
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114