Page 108 - kpi21190
P. 108

108



               ระบอบประชาธิปไตยสันนิษฐานว่าคนในสังคมที่ความไม่เท่าเทียมและมีความร่ำรวยน้อยกว่า

               คนรวยหรือโดยเฉพาะสถาบันการปกครองที่ใช้เสียงคนส่วนใหญ่จะสนับสนุนประชาธิปไตย
               น้อยกว่าและมีการต่อต้านเผด็จการน้อยกว่าคนจนต่อต้าน จากนั้นเราจะเห็นกรณีศึกษา
               ในเอเชียตะวันออกหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวทางในทฤษฎีทั้งสามนี้

                     หลักฐานจากประเทศในเอเชียตะวันออกที่แตกต่างกันซึ่งพบว่ามีคุณสมบัติที่น่าสนใจ

               ที่เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่สูงมากแต่เป็นผู้มั่งคั่งกลับเป็นผู้สนับสนุนระบอบ
               ประชาธิปไตยมากกว่า (ไม่น้อยกว่า) และต่อต้านเผด็จการมากกว่า (ไม่น้อยกว่า) กลุ่มคนจน
               หนึ่งในทฤษฎีหลักที่เสนอโดยนักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งมีความไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ
               ได้แก่ ทฤษฎีประชาธิปไตยกับการแจกจ่ายทรัพยากร (ทฤษฎีที่ 1) หรือทฤษฎีพึ่งตนเอง

               ตามระบอบประชาธิปไตย (ทฤษฎีที่3)การที่คนรวยสนับสนุนการตรวจสอบ และถ่วงดุลถือเป็น
               หลักการสำคัญของระบอบเสรีประชาธิปไตยและจะสอดคล้องกับแนวทางของทฤษฎีการแข่งขัน
               ระดับชนชั้นสูง (ทฤษฎีที่ 2)


                     หลักฐานจากประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะหลักฐานจากประเทศ
               ที่มีความเท่าเทียมกันในเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้
               รวมถึงไต้หวัน ทั้งสามกรณีของแต่ละประเทศแม้จะมีความเหลื่อมล้ำของรายได้ต่ำและ
               มีความมั่งคั่งไม่แตกต่างกันมากระหว่างคนจนกับคนรวยโดยทั้งสองกลุ่มสนับสนุนสถาบัน
               ประชาธิปไตยและการต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการในระดับที่เท่าๆกัน ในกรณีความ

               เหลื่อมล้ำทางรายได้ต่ำคือประเทศที่มีรายได้สูงพบว่าอิทธิพลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
               สามารถลดความแตกต่างของรายได้ในสังคมได้ ในประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้
               น้อยกว่ามีความขัดแย้งในการจัดการน้อยกว่ามีการให้ความสำคัญกับค่านิยมและความเชื่อใน

               สังคมตามระดับการศึกษาที่ดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างทัศนคติต่อระบอบการเมือง
        เอกสารประกอบการอภิปรายร่วมระหว่างผู้แทนจากต่างประเทศ
               นี่คือหลักฐานจากกรณีศึกษาในเอเชียตะวันออกที่เห็นได้ชัดจากข้อมูลและหลักฐานทั้งหมด
               ผมคิดว่าน่าสนใจมากที่ได้พบว่าการใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่เท่าเทียมแต่ร่ำรวย เช่น สิงคโปร์
               มีผลกระทบในทางลบโดยชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจทำให้ผู้คนหันหลังให้กับการเลือกตั้ง
               และการปกครองแบบเสรีแบบประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นประเทศที่ไม่เท่าเทียมแต่มั่งคั่ง

               น้อยกว่า เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และพบอีกว่าการใช้ชีวิตในประเทศที่เท่าเทียมกันและ
               ร่ำรวย อย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน กลับมีผลในเชิงบวกซึ่งหมายความว่าการพัฒนาทาง
               เศรษฐกิจทำให้มีความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลงทำให้คนสนใจการเลือกตั้งและการปกครอง

               แบบเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น แทนที่จะเป็นประเทศที่ไม่เท่าเทียมและมั่งคั่งน้อยกว่า

                     อีกประเด็นหนึ่ง ประการที่หนึ่ง น่าสนใจมากในการใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่มี
               ความเท่าเทียมแต่ร่ำรวยหรือประเทศที่มีความเท่าเทียมกันแต่ร่ำรวยน้อยกว่ามีผลทางลบโดยชี้
               ให้เห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยลดความไม่เท่าเทียมทำให้ประชาชนหันหลังให้กับ

               เผด็จการ ประการที่สอง คือการใช้ชีวิตในประเทศที่เท่าเทียมและมั่งคั่งแทนที่จะเป็นประเทศที่
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113