Page 107 - kpi21190
P. 107
107
ระดับความเหลื่อมล้ำของรายได้มีมากขึ้นไปทั่วภูมิภาคในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย มองโกเลีย สิงคโปร์ ทั้งหมดนี้มีแนวโน้ม
ความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่อยู่ในระดับสูง ในทางตรงกันข้าม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศ
มาเลเซีย และประเทศไทยมีแนวโน้มรายได้เหลื่อมล้ำลดลง อย่างไรก็ตามระดับของความ
เหลื่อมล้ำของรายได้ก็ยังคงสูงอยู่ ช่วงหลังๆ มานี้เราได้เห็นกระบวนการสร้างประชาธิปไตย
และความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นในเอเชียตะวันออก คำถามสำหรับช่วงปี
ค.ศ. 1990 - 1999 จึงสำคัญเพื่อเชื่อมโยงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและระบอบ
ประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพื่อประเมินผลความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจว่ามีผล
ต่อการเมืองและสถาบันทางการเมืองอย่างไร มีหลายวิธีในการจัดการผลกระทบทางการเมือง
จากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ประการแรกให้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของการกระจาย
ทรัพยากร ประการที่สองคือความเสมอภาคของการปกครองและระบอบประชาธิปไตยโดยใส่ใจ
ในเรื่องความมั่นคงและความอยู่รอดของประชาธิปไตย สุดท้ายคือการดำเนินการกระบวนการ
สร้างประชาธิปไตย นักเศรษฐศาสตร์การเมืองใช้คำถามนี้เพื่อระบุผลทางการเมืองและ
ทางเศรษฐกิจต่อระบอบประชาธิปไตย
ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการเมืองในเอเชียตะวันออกและรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
พร้อมกับความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ที่สูงขึ้นในภูมิภาคในช่วงปี ค.ศ. 1990-1999 เป็นเรื่องสำคัญ
ยิ่งขึ้นที่ต้องเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความไม่เท่าเหลื่อมล้ำและความเป็นประชาธิปไตยทั่วทั้ง
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีกรณีที่น่าสนใจสำหรับการเปรียบเทียบระหว่างเศรษฐกิจและ
การเมือง เนื่องจากมีทฤษฎีหนึ่งที่มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ภายในการพัฒนาเศรษฐกิจและ
ประชาธิปไตย และอีกทฤษฎีหนึ่งเน้นด้านความเหลื่อมล้ำและประชาธิปไตย โดยส่วนใหญ่
เชื่อว่ากระบวนการสร้างประชาธิปไตยนั้นมีโอกาสสำเร็จน้อยที่สุดเมื่อความเหลื่อมล้ำในสังคม
อยู่ในระดับสูง แต่สำหรับกรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีข้อยกเว้นที่น่าสนใจอย่างมากเพราะ
มีหลายประเทศมีตัวอย่างทั้ง 2 แบบ ตัวอย่างเช่น แนวคิดที่ว่าเมื่อประชาธิปไตยมีระดับ
น้อยที่สุดเมื่อความไม่เท่าเทียมสูงที่จะเห็นได้จากตัวอย่างกรณีของประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน
มาเลเซีย สิงคโปร์ แต่ในทางกลับกันแนวทางนี้ไม่สามารถยืนยันกรณีในประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งมีประชาธิปไตยแต่ความไม่เท่าเทียมสูงได้
สามทฤษฎีที่สำคัญ ๆ หนึ่งในนั้นเรียกว่าทฤษฎีประชาธิปไตยกับการกระจายทรัพยากร
ที่สันนิษฐานว่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันและความแตกต่างกันด้านรายได้ระหว่างคนจนและ
คนรวยจะทำให้เกิดการสร้างประชาธิปไตยได้น้อยกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบัน เอกสารประกอบการอภิปรายร่วมระหว่างผู้แทนจากต่างประเทศ
การปกครองที่เกิดจากเสียงของคนส่วนใหญ่และคนรวยต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ
น้อยกว่าคนจนต่อต้านตามทฤษฎีนี้เป็นกรณีที่ความไม่เท่าเทียมสูง ทฤษฎีที่สองเรียกว่าทฤษฎี
การแข่งขันระดับชนชั้นสูงสันนิษฐานว่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันคนรวยหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สถาบันที่มีความรับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่จะสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยในขณะเดียวกัน
คนรวยก็ต่อต้านเผด็จการมากกว่าคนยากจนต่อต้าน และสุดท้ายคือทฤษฎีพึ่งตนเองตาม