Page 337 - kpi20858
P. 337

295





                                   มุมมองและระยะ                              การวิเคราะห์


                                                              จากภาพมีการน าเสนอมุมมองแบบระดับสายตาปกติ ที่
                                                              ระยะหลัง สามารถพบเห็นเส้นเฉียงที่บริเวณพื้นลึกเข้าไป
                                                              ก่อให้เกิดมิติลวงตา เส้นเฉียงดังกล่าวได้แสดงขอบเขต

                                                              ของสภาพแวดล้อมภายในห้องๆ หนึ่ง ที่ภายในมีแสงสลัว
                                                              นอกจากนี้การสร้างระยะภายในภาพยังเกิดจากอิทธิพล

                                                              ของสี ที่มีการก าหนดค่าน ้าหนักที่แตกต่างระหว่างภาพ
                                                              คือ รูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าจ้าอยู่หัว และพื้น
                                                              คือ เบื้องหลังของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม

                                                              ภายในห้องๆ ที่มีแสงสลัว ด้วยค่าน ้าหนักที่แตกต่างกัน
                                                              ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงความลึก และอากาศที่อยู่รายรอบ

                                                              พระวรกายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
                                                              นอกจากนี้มีการสร้างระยะกลางที่บริเวณพระมหาพิชัย

                                                              มงกุฎ โดยก าหนดค่าน ้าหนักของสี และลดความจัดเจน
                                                              ของแสงเงาลง พร้อมกับสร้างทิศทางการจัดวางให้เบี่ยง

                                                              ไปทางด้านซ้ายของภาพ แสดงต าแหน่งของรูปทรงว่าอยู่
                                                              ถัดเข้าไปจากองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
                                                              เจ้าอยู่หัว ส่งผลให้เกิดการผลักระยะไปสู่ระยะกลางได้


                                    สี และแสง-เงา                             การวิเคราะห์



                                                              การก าหนดค่าน ้าหนักของสี และแสง-เงาที่ปรากฏภายใน

                                                              ภาพนี้ คล้ายคลึงกับจิตรกรรมของศิลปินอิตาลี อาทิ เลโอ
                                                              นาร์โด ดา วินชี จิตรกรอิตาเลียนเรอเนสซองส์ ที่ใช้ค่าต่าง
                                                              แสงเงา โดยค านึงถึงค่าของแสงที่สว่างจัดฉาบลงบนผิว

                                                              กายของรูปทรง และแสงสว่างน้อย หรือแสงสลัวฉาบลง
                                                              บนวัตถุที่อยู่ในเงามืด ท าให้ภาพเกิดบรรยากาศและระยะ

                                                              ตื้นลึก จากภาพพบว่า ที่บริเวณที่มีค่าของแสงสว่างใน
                                                              ระดับมากที่สุดถึงน้อยที่สุด ส่งผลต่อล าดับในการมอง
                                                              ภาพของผู้ชม ดังนี้ พระพักตร์ ฉลองพระองค์ โต๊ะ พระ

                                                              มหาพิชัยมงกุฎ พื้น และก าแพงอาคาร ในขณะที่ขอบเขต
                                                              ของผ้าม่านสีเข้มนั้นกลืนไปเป็นฉากหลังของภาพ
   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342