Page 341 - kpi20858
P. 341
299
สี และแสง-เงา การวิเคราะห์
การวางค่าน ้าหนักของสี พบว่า พระสรลักษณ์ลิขิตยังคง
ก าหนดค่าน ้าหนักสว่างี่สุดในส่วนของพระพักตร์
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระวรกาย
สิ่งของในพระหัตถ์ เครื่องเรือน พระมาลา ตลอดจนเสา
กลมที่ก าแพงอาคารสถาปัตยกรรมด้านหลัง โดยมีค่า
น ้าหนักสีเข้มของพุ่มไม้ที่ระยะหลังช่วยส่งเสริม ขับเน้น
พระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าให้โดดเด่น
มากยิ่งขึ้น พระสรลักษณ์ลิขิตมีความประณีตในส่วน
รายละเอียดต่างที่ส่งเสริมความสมจริง ดังเช่น แสงที่สาด
ส่องเข้ามาในภาพนั้นถ่ายทอดได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยมี
แสงเล็ดรอดทาทาบไปที่เสากลมของสถาปัตยกรรม ยิ่ง
ส่งเสริมอารมณ์ความสมจริงภายในภาพได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของการใช้สีเพื่อน าเสนอรายละเอียดฉลอง
พระองค์นั้น ถือว่าถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ
พู่ห้อยสายคาดเอวของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว ท าด้วยเส้นไหมมันวาวซึ่งสะท้อนเล่นแสงจน
เกิดเป็นประกาย นอกจากนี้ลวดลายบนฉลองพระองค์
หรือลวดลายของเครื่องเรือน และตราสัญลักษณ์บนพระ
มาลา นั้นสามารถเขียนออกมาได้อย่างประณีตงดงาม
ตารางที่ 21 การวิเคราะห์รูปแบบ ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลของพระสรลักษณ์ลิขิต
ที่มา: ผู้วิจัย
การสร้างสรรค์ผลงานของพระสรลักษณ์ลิขิต เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ส าคัญ ซึ่งสามารถแสดง
ภาพสะท้อนสังคมในขณะที่สยามก าลังตื่นตัวต่ออิทธิพลการสร้างสรรค์ศิลปะจากชาติตะวันตกได้
เป็นอย่างดี ผลงานทั้งสองชิ้นข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าพระสรลักษณ์ลิขิตนั้น มีแนวทางการ
สร้างสรรค์จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลแบบศิลปะตามหลักวิชา มีการน าเสนอรูปทรงที่ถูกหลักกาย
วิภาค แสดงสัดส่วน และโครงสร้างของทั้งกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง ส่วนเรื่องมุมมอง ที่
ปรากฏในภาพนั้น เป็นการน าเสนอในระดับสายตาปกติ ทั้งนี้อาจพิจารณาถึงการถูกก าหนดมุมมอง