Page 336 - kpi20858
P. 336
294
รูปทรง การวิเคราะห์
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว เมื่อน ามาเปรียบเทียบกับพระบรมสาทิสลักษณ์
ที่เขียนขึ้นโดยพระสรลักษณ์ลิขิตภาพนี้ พบว่ามีการจัด
ท่าทางในอิริยาบถเดียวกัน นอกจากนี้ที่ระยะหลังของ
ภาพพระฉายาลักษณ์นั้น ยังปรากฏฉากซึ่งเป็นภาพเขียน
เพื่อเป็นการจ าลองสถานที่ โดยภาพฉากที่เขียนขึ้นนี้มี
ความสอดคล้องกับภาพที่ระยะหลังของพระบรมสาทิส
ลักษณ์เช่นเดียวกัน หากแต่พระสรลักษณ์ลิขิตได้จ าลอง
ห้องอย่างสมจริงมากกว่า ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระสร
ลักษณ์ลิขิตเขียนภาพพระบรมสาทิสลักษณ์นี้ โดยมี
ต้นแบบจากพระบรมฉายาลักษณ์ แต่เพื่อความสวยงาม
ลงตัวกว่า จึงปรับใช้รูปทรงต่างๆ ทั้งปรับเปลี่ยนและ
เพิ่มเติมรูปทรง อาทิ มิได้เขียนให้พระบาทสมเด็จพระ
ที่มาภาพ: กระทรวงวัฒนธรรม, พระราชพิธีบรมราชา มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมาลาเส้าสูงดังเช่นในภาพ
ภิเษก, เข้าถึงเมื่อ 15กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก พระบรมฉายาลักษณ์ และมิได้ทรงพระแสงดาบญี่ปุ่น แต่
https://www.mculture.go.th/mculture_th60/ ปรับเปลี่ยนพระแสงดาบเป็นชนิดอื่น พร้อมกับจัดวาง
download/final-THAI.pdf พระมหาพิชัยมงกุฎไว้บนโต๊ะที่ด้านข้างของพระองค์
เพิ่มเติม
รูปทรงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มี
ความถูกต้อง น าเสนอกายวิภาคในลักษณะศิลปะตาม
หลักวิชา โดยค านึงถึบความงามทางสัดส่วน และ
ความถูกต้องของโครงสร้างร่างกาย ในลักษณะเหมือน
จริง มีกายวิภาคที่ถูกต้อง ที่พระพักตร์ จิตรกรสามารถ
ถ่ายทอดได้อย่างสมจริง เช่นเดียวกันกับฉลองพระองค์
และริ้วรอยยับย่นของเนื้อผ้า ที่น าเสนอรายละเอียดได้
อย่างงดงาม นอกจากนี้รูปทรงอื่นๆ ที่ปรากฏภายในภาพ
ทั้งเครื่องเรือน และพระชฎาที่ตั้งอยู่ถัดไปในเงาสลัวนั้น
ยังมีลักษณะ และสัดส่วนสอดคล้องไปกับขนาดพระ
วรกายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก
ด้วย ส่งเสริมให้ภาพดูสมจริงมากยิ่งขึ้น