Page 342 - kpi20858
P. 342
300
ด้วยพระฉายาลักษณ์ ซึ่งเป็นภาพต้นแบบของการน ามาใช้เขียน อย่างไรก็ตามการสร้างระยะ
ภายในผลงานทั้งสองชิ้นยังคงปรากฏให้เห็น ซึ่งเป็นองค์ประกอบส าคัญที่ช่วยส่งเสริมความลึกภาย
ในภาพได้อย่างสมจริง ระยะดังกล่าวถูกน าเสนอทั้งแบบทัศนียวิทยาเชิงเส้น และแบบบรรยากาศ
ของสี เมื่อกล่วถึงการใช้สีพบว่า สีนอกจากถูกน ามาใช้ก าหนดสร้างระยะแล้ว ยังถูกน ามาใช้สร้าง
บรรยากาศอันมืดสลัว ตามแบบฉบับของงานจิตรกรรมตะวันตก โดยเฉพาะจิตรกรอิตาเลียน
เรอเนสซองส์ ที่เคยต้องพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระ
สรลักษณ์ลิขิตได้เคยถวายงานมาก่อน ดังนั้นแนวทางนี้อาจเป็นความช านาญเฉพาะตัวของท่าน
เพื่อใช้สร้างสรรค์ตลอดมา นอกจากนี้พบว่าการก าหนดค่าน ้าหนักของสีให้เกิดเป็นแสง-เงา ใน
ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลของท่านยังมีการน าเสนออย่างถูกต้องเคร่งครัด ประกอบกับมี
ความใส่ใจในการน าเสนอลวดลาย และพื้นผิวของสิ่งต่างๆ อย่างประณีต องค์ประกอบที่ได้กล่าว
ถึงเหล่านี้มีความมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ภาพจิตรกรรมเกิดความสมจริงอย่างมีชีวิต
4.1.2.1.2 แนม สุวรรณแพทย์
4.1.2.1.2.1 ภูมิหลัง
แนม สุวรรณแพทย์ เป็นจิตรกรไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่
น่าเสียดายที่เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การศึกษา หรือแนวคิดและกลวิธีในการ
สร้างสรรค์จิตรกรรมของท่านั้นไม่ปรากฏ พบแต่เพียงผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลจ านวน
หนึ่ง เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสาทิสลักษณ์
ของสมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณีพระบรมราชินี และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต
พระโอรสในสมเด็จพระราชาปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ
วงศ์วรเดช และเป็นพระราชโอรสบุญธรรมในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเขียน
ภาพแต่ละภาพสันนิษฐานว่า มีการเขียนจากภาพต้นแบบ คือ พระบรมฉายาลักษณ์ จิตรกรรมสี
น ้ามันของ แนม สุวรรณแพทย์ ทั้งหมดที่ปรากฏนั้น ให้ความส าคัญกับการน าเสนอความเหมือนจริง
แบบศิลปะตะวันตก ดังสามารถวิเคราะห์รูปแบบได้ ดังนี้
4.1.2.1.2.1 รูปแบบ
จิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลของ แนม สุวรรณแพทย์ น าเสนอภาพพระบรมสาทิสลักษณ์
ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าร าไพพรรณี พระ
บรมราชินี และพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต รวมทั้งสิ้นจ านวน 5 ชิ้น ดสามารถวิเคราะห์รูปแบบได้
ดังต่อไปนี้