Page 329 - kpi20858
P. 329
286
รูปทรงมนุษย์ที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนบนที่ด้านซ้ายของพระประธาน (2จ) มี
การน าเสนอภาพเทพบุตร ส่วนที่ด้านขวาของพระประธาน (4จ) น าเสนอภาพเทพธิดา ตลอดจน
ภาพจิตรกรรมที่ด้านหลังของพระประธานตอนบน (1จ) แสดงภาพคนธรรพ์ และตอนล่าง (19ฉ)
แสดงภาพท้าวจตุโลกบาลรักษาทั้งสี่ทิศ ทั้งหมดยังคงมีรูปแบบอุดมคติผสานความเหมือนจริง
ในขณะที่รูปทรงที่ผนังตอนล่าง (ฉ) ทั้งด้านซ้าย ด้านหน้า และด้านขวาของพระประธาน ตลอดจน
ผนังตอนบนด้านหน้าของพระประธาน (3จ) ต่างแสดงเรื่องราวในพระราชพงศาวดารของสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราช ซึ่งมีการน าเสนอด้วยรูปแบบเหมือนจริงอย่างตะวันตก การน าเสนอรูปทรงใน
ลักษณะดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ที่ผนังตอนบนที่แสดงภาพเทพบุตร เทพธิดา และคนธรรพ์
ตลอดจนท้าวจตุโลกบาลรักษาทั้ง 4 ทิศ นั้นพระยาอนุศาสน์มีความต้องการน าเสนอรูปทรงให้อยู่
ในลักษณะสมุติภาวะ ดังนั้นรูปแบบที่เหมาะสมคือการคงลักษณะบางประการของรูปแบบ
จิตรกรรมตามขนบนิยมของไทยเอาไว้ ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดภาวะที่อยู่เหนือไปจากมนุษย์ปุถุชน
ธรรมดาได้ดีกว่า ส่วนที่ผนังตอนล่าง (ฉ) และผนังตอนบนด้านหน้าของพระประธาน (3จ) แสดง
พระราชพงศาวดารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาอนุศาสน์ จิตรกรต้องการน าเสนอพระ
นเรศวรด้วยสถานะความเป็นมนุษย์ ดังนั้นรูปแบบในลักษณะเหมือนจริง จึงสอดคล้องกับการถ่าย
เรื่องราวได้อย่างเหมาะสม นอกจากรูปทรงแล้วนั้นองค์ประกอบอื่นๆ อาทิ การลงสี สร้างบรรยากาศ
ระยะ และมุมมอง ยังส่งผลสนับสนุนให้เกิดรูปแบบเหมือนจริงได้ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ ดังนี้
มุมมองและการสร้างระยะ
ล าดับที่ การน าเสนอมุมมอง การวิเคราะห์
ที่รูปทรงมีการน าเสนอทัศนียวิทยาแบบหดสั้น
รูปทรงของมนุษย์ ในหลายผนัง อาทิ ภาพ
ทหารทั้งสองคน ที่ต้องพ่ายแพ้และเสียท่าใน
3จ สงครามยุทธหัตถี รูปทรงมนุษย์แบบหดสั้น ที่
พระยาอนุศาสน์ จิตรกรถ่ายทอดนั้นแสดงให้
เห็นถึงทักษะ แลความเข้าใจในการน าเสนอ
ระยะตามหลักวิทยาการแบบตะวันตกได้เป็น
อย่างดี