Page 325 - kpi20858
P. 325

282





                              เมื่อมองภาพโดยรอบ  คือการเล่าเรื่องแบบเวียนขวา  น าเสนอพระราชประวัติของสมเด็จ
                       พระนเรศวรตั้งแต่ประสูติจนสิ้นพระชนม์  ผนังพิเศษที่โดดเด่นอย่างมากที่วิหารแห่งนี้คือ  ผนัง

                       ตอนบน ด้านตรงข้ามพระประธาน แสดงฉากสมเด็จพระนเรศวรทรงกระท ายุทธหัตถี (3จ) พระยา

                       อนุศาสน์ยังคงสงวนผนังนี้เพื่อน าเสนอฉากตอนพิเศษของเรื่อง  แต่เดิมจิตรกรรมตามขนบนิยมมัก

                       ก าหนดให้พื้นที่บริเวณนี้เป็นฉากตอนพระพุทธเจ้าผจญมาร และทรงมีชัยเหนือหมู่มารได้ ทว่า พระ
                       ยาอนุศาสน์ได้น าเสนอฉากตอนที่พระนเรศวรทรงกระท ายุทธหัตถี  เอาชนะศัตรูและสามารถกอบกู้

                       เอกราชไว้ได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้นยังคงเป็นฉากตอนการมีชัยชนะเช่นเดิม หากแต่

                       เปลี่ยนบริบทของเรื่องราวได้อย่างแนบเนียนเหมาะสม


                              5.1.1.1.3.2 รูปแบบ

                              การเขียนภาพจิตรกรรมในครั้งนี้  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาด ารงราชานุภาพ

                       ทรงก าหนดพระชันษาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช        เพื่อให้เกิดความสมจริงสอดคล้องไปกับ

                       เรื่องราวในพระราชพงศาวดาร  พร้อมกันนั้นได้กล่าวถึงลักษณะของสมเด็จพระนเรศวรว่ามีพระฉวี

                       ที่ค่อนไปทางคล ้า  จนกลายเป็นสาเหตุที่ท าให้เรียกพระองค์ว่า  พระองค์ด า  ดังนั้นในการเขียน

                       รูปทรงของสมเด็จพระนเรศวรจึงถูกก าหนดลักษณะไว้ด้วยข้อมูลที่สมเหตุสมผล  สอดคล้องไปกับ
                       ประวัติศาสตร์


                              ด้านการจัดแบ่งพื้นที่พบว่า พระยาอนุศาสน์ จิตรกรได้แบ่งผนังออกเป็น 2 ตอน คือ ผนัง

                       ตอนบน ที่ด้านหลังของพระประธาน (1จ) น าเสนอภาพเหล่าคนธรรพ์ ชาวสวรรค์ซึ่งมีความสามารถ

                       ทางการดนตรี ทั้งเล่นดนตรี ขับร้อง ฟ้อนร า เพื่อเป็นพุทธบูชา ส่วนที่ผนังตอนบนด้านซ้ายของพระ

                       ประธาน (2จ)  มีการเขียนภาพเทพบุตร เหาะเหินบนท้องฟ้า เรียงเป็นแถวสลับสับหว่างจ านวน 4

                       แถว  อยู่ในท่าประนมมือ  เพียงสองแถวแรก  ถัดจากนั้นอยู่ในท่าร่ายร า  และผนังตอนบนด้านหน้า

                       ของพระประธาน (3จ) เป็นส่วนที่แสดงฉากตอนพิเศษ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกระท ายุทธ

                       หัตถีกับพระมหาอุปราชา  อีกทั้งที่ผนังตอนบนด้านขวาของพระประธาน  (4จ)  เขียนภาพเทพธิดา

                       เรียงเป็นแถวสลับสับหว่าง จ านวน 5 แถว อยู่ในท่าประนมมือ เพียง 2 แถวด้านหน้า ถัดจากนั้นอยู่

                       ในท่าร่ายร า  ทั้งเทพบุตรและเทพธิดาส่วนใหญ่ถูกก าหนดทิศทางให้หันหน้าเข้าหาพระประธานใน

                       พระวิหาร  ในขณะที่ผนังตอนล่าง  (ฉ)  ทั้งหมด  แสดงเรื่องราวพระราชประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึง

                       สิ้นพระชนม์  ตามเรื่องที่กะให้เขียนโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยาด ารงราชานุ

                       ภาพ ทั้งนี้มีการเขียนลายประจ ายามคั่นระหว่างผนังตอนบนและผนังตอนล่าง
   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329   330