Page 231 - kpi20858
P. 231
188
ด้านแพรแถบที่ใช้แขวนเหรียญนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ได้ทรงออกแบบขึ้น โดยอ้างอิงตามเหรียญที่เคยปรากฏขึ้นแล้ว ดังประกอบด้วย แพรแถบของ
เหรียญสตพรรษามาลาที่ใช้แพรแถบไตรรงค์ หรือแพรแถบตรามหาจักรี แพรแถบเหรียญรัตนากรณ์
รัชกาลที่ 7 หรือแพรแถบเหรียญราชรุจิรัชกาลที่ 7 หรืออาจใช้สีพระชนมวารแห่งพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในเอกสารทูลเกล้าว่า
แพรแถบที่จะใช้ร้อยเหรียญนั้น ถ้าเดิรตามแบบเหรียญสตพรรษามาลาแล้ว ก็ชอบที่
ใช้แพรแถบไตรรงค์ หรือจะยักย้ายใช้แพรแถบตรามหาจักรี แพรแถบเหรียญรัตนากรณ์
รัชกาลนี้หรือแพรแถบเหรียญราชรุจิรัชชกาลนี้ ก็ใช้ได้เหมือนกัน สีพระชนมวารแห่งพระ
354
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ กับรัชชกาลปัจจุบันก็ต้องกัน
จากนั้นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงทรงออกแบบแพรแถบ (ภาพที่ 16) เพื่อ
ทูลเกล้าถวายขอรับพระบรมราชวินิจฉัย ต่อมามีกระแสรับสั่งผ่านราชเลขานุการในพระองค์ความ
ว่า “ส่วนแพรแถบที่จะใช้ร้อยเหรียญนั้น จะเป็นขอบสีเขียวกลางเหลือง หรือ เหลืองล้วน ทรง
พระราชด าริว่าน่าจะลองเขียนแบบมาถวายทอดพระเนตร์สัก ๒-๓ อย่าง”
355
ภาพที่ 16 แพรแถบส าหรับใช้ร้อยเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระนคร 150 ปี ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ที่มาภาพ: “เรื่องการจัดท าเหรียญที่ระลึกส าหรับพระราชทานในงานสมโภชพระนครครบ 150 ปี,” เอกสาร
จดหมายลายลักษณ์, กรมศิลปากร, (4)ศธ.2.1.2.1/76, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงทรงคิดออกแบบ
แพรแถบเพื่อทูลเกล้าถวาย ซึ่งการออกแบบในครั้งนี้ทรงออกแบบแพรแถบถึง 13 แบบ ดังที่พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีหนังสือถึงราชเลขาธิการในพระองค์ ดังนี้
354 “การท าเหรียญที่ระลึกส าหรับพระราชทานในงานเฉลิมฉลองสมโภชพระนครครบ 150 ปี,”เอกสารจดหมาย
ลายลักษณ์, กรมศิลปากร, (4)ศธ 2.1.2.1/76, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.
355 เรื่องเดียวกัน.