Page 236 - kpi20858
P. 236

193






                       ทองแดงรมด า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บนเหรียญออกแบบเป็นรูปพานแว่นฟ้าอยู่ภายในวงชัยพฤกษ์ด้าน
                                                                                           364
                       หนึ่ง  และรูปพระสยามเทวาธิราชทรงพระขรรค์ในท่าประหารปรปักษ์อีกด้านหนึ่ง   มีการร้อยแพร
                       แถบด้วยสีธงชาติ เช่นเดียวกันกับที่พระเทวาภินิมมิตได้เคยเสนอต่อรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ.2475


                              ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง       ผู้น าใหม่มีแนวคิดในการสร้างค่านิยมใหม่
                       ด้วยการสถาปนารูปแบบของงานศิลปกรรมใหม่ โดยมีการปรับเปลี่ยนทิศทางที่การแสดงออกให้ไม่

                       ซ ้ากับศิลปะของเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ หรือชนชั้นสูงที่เคยยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมา ก่อให้เกิด

                       การน าพาศิลปะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่  ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างผลงานโดยยึดถือธรรมชาติ

                       เป็นแม่แบบ  และถ่ายทอดออกมาในลักษณะเหมือนจริง  แม้ว่าจะอยู่บนพื้นฐานของการน าเสนอ
                       ความเหมือนจริงเช่นเดียวกัน  ทว่า  ความเหมือนจริงแบบเก่า  ที่มีผู้อุปถัมภ์เป็นชนชั้นสูงนั้น  ยังคง

                       น าเอาความเหมือนจริงมาผสานความงามอย่างอุดมคติเพื่อเชิดชูสถาบันกษัตริย์  แต่ความเหมือน

                       จริงแบบผู้น าใหม่นั้น  กลับมุ่งสะท้อนภาพความกลมเกลียวของชนในชาติ  โดยมุ่งเน้นไปที่การ

                       น าเสนอภาพชนชั้นสามัญเป็นหลัก

                              อย่างไรก็ตามเมื่อกล่าวถึงความเป็นสมัยใหม่นั้น  แท้จริงเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่รัชสมัย

                       พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่มีการรับเอาอิทธิพลบางประการมาจากศิลปะตะวันตก

                       เป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นบ่มเพาะความนิยมแบบอย่างตะวันตก  จากนั้นด าเนินเรื่อยมาจนกระทั่ง

                       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ความนิยมดังกล่าวได้แฝงฝังจนกลายเป็นส่วนหนึ่ง
                       ของการแสดงออกในหมู่ช่างหรือศิลปินชาวสยามอย่างแพร่หลาย      ความนิยมนี้ถูกท าให้ส าคัญ

                       ยิ่งขึ้นไปอีกจากการวางรากฐานทางการศึกษา  ที่มีหลักสูตรการศึกษาแบบศิลปะตามหลักวิชา

                       ตะวันตก  โดยเริ่มมีการก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมตั้งแต่ปี  พ.ศ.2477  และพัฒนาเรื่อยมาจน

                       เป็นมหาวิทยาลัยใน พ.ศ.2486 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน ในสมัยนี้ศิลปะถูกน ามาใช้
                       เป็นเสมือนเครื่องมือโฆษณาประชาสัมพันธ์ลักษณะหนึ่ง  เพื่อประโยชน์ของการเชิดชูอ านาจทาง

                       การเมืองของผู้น าใหม่ ดังที่ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ กล่าวว่า  “การตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นส่วนหนึ่ง

                       ของการน าประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า  ตามแนวความคิดของจอมพล  ป.  พิบูลสงคราม  นายก

                       รัฐมนตรีในขณะนั้น”
                                        365





                           364  พิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย, “เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ,” เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://

                       www.thaimedal.com/web/7b_2476.php
                           365   วิบูลย์  ลี้สุวรรณ,  “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,”  ใน  ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์  (กรุงเทพ:
                       ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 113.
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241