Page 237 - kpi20858
P. 237
194
การใช้ประโยชน์จากศิลปะนั้น ได้ก่อให้เกิดรูปแบบใหม่ ที่ต่างไปจากกระแสนิยมในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่
ความเหมือนจริงนั้นแฝงเร้นด้วยความสง่างามแบบอุดมคติของชนชั้นสูง ทว่าภายหลังจากการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง ความเหมือนจริงที่เป็นสามัญกลับได้รับความค านึงถึงมากกว่า ซึ่งชาตรี
ประกิตนนทการ เรียกศิลปะสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 ว่า “ศิลปะ
คณะราษฎร” ซึ่งในยุคสมัยนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนส าคัญของศิลปะสมัยใหม่ในไทย ในแง่คุณภาพของ
การวางรากฐานอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตามแนวทางการแสดงออกมิได้แตกต่างไปจากรูปแบบก่อน
หน้ามากนัก เพราะยังเป็นศิลปะที่มุ่งเน้นถ่ายทอดความเหมือนจริงตามหลักวิชา เน้นความถูกต้อง
ของกายวิภาค ทัศนียวิทยา และการน าเสนอแสงเงา ทว่าสิ่งที่แตกต่างออกไปจากการสร้างศิลปะ
ก่อนหน้านี้คือ การน าเสนอผลงานด้วยแนวทางเหมือนจริงแบบคณะราษฎร์ เกิดขึ้นบนฐานคิดเรื่อง
366
“ศิลปะเพื่อการเมือง” ดังนั้นผลงานภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงผู้น าใหม่ แม้จะยังคงด ารง
แนวทางแบบเหมือนจริง แต่ทว่าเป็นความเหมือนจริงแบบสัจจนิยม ที่แสดงความจริงและความ
สามัญมากกว่าความเหมือนจริงแบบอุดมคติที่น าเสนอภาพลักษณ์อันสูงส่งของผู้อุปถัมภ์ดั้งเดิม
366 ชาตรี ประกิตนนทการ, ศิลปะ สถาปัตยกรรม คณะราษฎร์: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์, 124.