Page 239 - kpi20858
P. 239
196
5.1 จิตรกรรม
จิตรกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
คือ จิตรกรรมไทยแนวตะวันตก ซึ่งหมายถึง การสร้างผลงานจิตรกรรมที่น าเอาแนวทางศิลปะแบบ
เหมือนจริงอย่างตะวันตกมาผสมผสานกับแนวอุดมคติอย่างศิลปะไทย และจิตรกรรมแบบตะวันตก
ซึ่งหมายถึง การสร้างผลงานจิตรกรรมแบบเหมือนจริงอย่างตะวันตก หรือศิลปะตามหลักวิชาการ
5.1.1 จิตรกรรมไทยแนวตะวันตก
จิตรกรรมไทยแนวตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏใน
จิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย จิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม กรุงเทพมหานคร ที่วิหารวัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร และอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีรูปแบบเของการน าเสนอรูปแบบอันมีการผสมผสานระหว่างศิลปะตามขนบ
นิยมของไทย กับหลักวิชาการตะวันตก ประกอบด้วย การน าเสนอกายวิภาค ทัศนียวิทยา สี และเสง
เงา ทั้งนี้อิทธิพลของศิลปะตะวันตกที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังของวัดแต่ละแห่งนั้น มีระดับของ
การรับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตกมาปรับใช้ที่แตกต่างกัน โดยสามารถกล่าวถึงในรายละเอียดได้
ดังนี้
5.1.1.1 จิตรกรรมฝาผนัง
5.1.1.1.1 จิตรกรรมฝาผนัง พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานครฯ
5.1.1.1.1.1 ภูมิหลัง
วัดพระศรีรัตนศาสดารามสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2325 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขต
พระบรมมหาราชวัง วัดแห่งนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์แห่ง
ราชวงศ์จักรี
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปรากฏหลักฐาน
ว่ามีมาแต่ครั้งรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อผ่านกาลเวลาภาพเขียนเกิด
เสื่อมและช ารุดเสียหาย จึงได้มีการซ่อมภาพเขียนดังกล่าวหลายครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ.2375 ตรงกับ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพ
จิตรกรรมเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อครั้งเฉลิมฉลองพระนครครบ 50 ปี ด้วยเหตุที่ภาพ
เขียนที่มีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นเกิดความช ารุดเสียหายเป็นอย่างมาก ในท านองเดียวกัน ในรัชสมัย