Page 391 - kpi20767
P. 391
366
9) ปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน 10) ปัจจัยด้านเครือข่ายความร่วมมือ 11) ปัจจัยด้านค่านิยม/
วัฒนธรรม และ 12) ปัจจัยด้านผู้น า โดยมีรายละเอียดของนิยามศัพท์ในแต่ละปัจจัย ดังนี้
1) ปัจจัยด้านนโยบาย หมายถึง ยุทธศาสตร์ชาติมีการการระบุแนวทางในการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการปรับสมดุลและพัฒนา
ระบบการบริหารจัดการชัดเจน แนวทางในการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ
ยุทธศาสตร์ชาติสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการเป็นได้ในทางปฏิบัติ
2) ปัจจัยการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐมีการ
ประสานงานที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกับหน่วยงานที่เกี่ยวกับการด าเนินงานเรื่องการปรับสมดุล
และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างสม่ าเสมอหรือระหว่าง
ผู้ก าหนดนโยบายกับหน่วยงาน หรือระหว่างองค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยกันเองสามารถสื่อสาร
เข้าใจกันได้
3) ปัจจัยด้านภารกิจ หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐมีการก าหนดอ านาจ หน้าที่ของ
ผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน มีการก าหนดภารกิจสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย มี
การก าหนดแนวทางในการปฏิบัติงานชัดเจนเข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่น มีกฎระเบียบและข้อบังคับ
ในการปฏิบัติงานมีล าดับขั้นตอนการปฏิบัติที่มีความชัดเจนและมีการก าหนดบทลงโทษและการให้
รางวัลอย่างเป็นระบบ
4) ปัจจัยด้านทรัพยากร หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานได้รับงบประมาณ
และวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ มีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และบุคลากร
ส าหรับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกระจาย
งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และบุคลากรส าหรับการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการอย่างเหมาะสม
5) ปัจจัยด้านการสื่อสารภายนอกองค์การ หมายถึง การที่หน่วยงานภาครัฐมีการท า
ความเข้าใจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการ มีการถ่ายทอดและการสื่อสารจากผู้บริหารมายังบุคลากรชัดเจน มีการสื่อสารในหลายช่องทาง
เพื่อท าให้ปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการเป็นไป
ตามเป้าหมาย
6) ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย หมายถึง การที่ประชาชนหรือหน่วยงานผู้รับบริการมี
ทัศนคติที่ดีต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ได้รับการ
สนับสนุนจากประชาชน ประชาชนมีความเข้าใจในประโยชน์และผลเสียที่ตามมา