Page 119 - kpi20767
P. 119
94
อิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ ทั้งโดยรวมและในรายด้าน
3) ผู้วิจัยท าการสร้างสมการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของการด าเนินงานตาม
ยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลของ
องค์การภาครัฐ ทั้งโดยรวมและในรายด้านที่เกิดจากตัวแปรอิสระทั้ง 12 ปัจจัย
3.2.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีเครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถ
เรียงล าดับสถิติที่ใช้ได้ตามลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายถึงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency; f) และค่าร้อยละ (Percentage; %)
2) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายถึงระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานฯ และ
ระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
X
(Mean; ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation; S.D.)
3) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแปรปรวน
พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Statistic Assumption’s Test) มีสถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ (พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส, 2560: 20-37)
3.1) การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับการแจกแจงความเป็นโค้ง
ปกติของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (Normal Distribution) มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
Kolmogorov-Smirnov Test (ส าหรับตัวแปรที่มีค่า 2 ค่า) และ Shapiro-Wilk Test (ส าหรับตัวแปร
ที่มีค่ามากกว่า 2 ค่า) โดยหากผลการทดสอบพบว่า ระดับนัยส าคัญทางสถิติของค่า Kolmogorov-
Smirnov Test และ Shapiro-Wilk Test มีค่ามากกว่านัยส าคัญทางสถิติที่ก าหนดไว้ (α > 0.05) จะ
แปลผลได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีการแจกแจงที่เป็นโค้งปกติ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อตกลง
เบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับการแจกแจงความเป็นโค้งปกติของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (Normal
Distribution)
3.2) และการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับภาวะสารูปสนิทดีของ
ข้อมูลการวิจัย (Goodness of Fit) มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ Chi-square Test โดยหาก
ผลการทดสอบพบว่า ระดับนัยส าคัญทางสถิติของค่า Chi-square มีค่ามากกว่านัยส าคัญทางสถิติที่
ก าหนดไว้ (α > 0.05) จะแปลผลได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีการแจกแจงที่เป็นโค้งปกติ และ
ข้อมูลการวิจัยมีภาวะสารูปสนิทที่ดี ซึ่งจะเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับภาวะ
สารูปสนิทดีของข้อมูลการวิจัย (Goodness of Fit)