Page 118 - kpi20767
P. 118
93
3.2.5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติใน
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล จ าแนกตามปัจจัยส่วน
บุคคล มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1) ผู้วิจัยท าการวิเคราะห์ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
แบบทางเดียว ชนิดไม่มีตัวแปรร่วม (One-way MANOVA) ซึ่งประกอบด้วยดังนี้
1.1) ผู้วิจัยท าการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับการแจกแจง
ความเป็นโค้งปกติของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (Normal Distribution)
1.2) ผู้วิจัยท าการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับสภาวะรูปสนิทดี
ของข้อมูลการวิจัย (Goodness of Fit)
1.3) ผู้วิจัยท าการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับความเป็นเอก
พันธ์ของเมตริกความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย (Homogeniety Test)
1.4) ผู้วิจัยท าการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบของตัวแปรตามในการวิจัย (Variable’s Correlation)
2) ผู้วิจัยท าการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว ชนิดไม่มีตัวแปรร่วม
(One-way MANOVA) เพื่อเปรียบเทียบระดับการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการปรับ
สมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งโดยรวม และในรายด้าน จ าแนก
ตามปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
3.2.5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์
ชาติในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การ
ภาครัฐ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1) ผู้วิจัยท าการวิเคราะห์ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิง
เส้นตรง (Multiple Linear Regression Analysis; MLRA) ซึ่งประกอบด้วยดังนี้
1.1) การวิเคราะห์ข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปร
ตาม (R )
x - y
1.2) การวิเคราะห์ข้อตกลงเกี่ยวกับภาวะ Multi-Collinearity หรือความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกันเอง (r )
x - x
1.3) การวิเคราะห์ข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linearity) ระหว่าง
ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
2) ผู้วิจัยท าการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติใน
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ
โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงด้วยวิธี Enter Method เพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่มี