Page 6 - kpi20680
P. 6

(5)







                       ด าเนินการต่อ เพราะตัวแทนของประชาชนเหล่านั้นไม่มีฐานอ านาจตามกฎหมายที่ยังขาดมาตรการ
                       ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างอื่นที่เหมาะสม

                              ผลการศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

                       และสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
                       สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต ่า  ทัศนคติทางสังคม  ค่านิยม  วัฒนธรรมองค์กรรัฐต่อการมีส่วนร่วมยังมี

                       ความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการปฏิรูปกลไกและการมีส่วนร่วมในการจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ควรก าหนดให้มีการปฏิรูปทางความคิด  โดยจัดให้มีสถาบัน
                       พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีสถานะเป็น

                       องค์กรร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน  (Hybrid  Organization)  เพื่อเป็นการประสานจุดแข็งในการ

                       ขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงปฏิบัติ ในการท าหน้าที่ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปความคิด การจัดการด้าน
                       ความรู้  ในการน ากระบวนการการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                       อย่างลึกซึ้งและมีความหมายที่แท้จริง ประกอบกับอุปสรรคจากวัฒนธรรม อ านาจและผลประโยชน์

                       ที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมที่แท้จริง  ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรากทางความคิดและ

                       แนวทางปฏิบัติเป็นส าคัญ
                              โดยบทบาทของสถาบันพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

                       สิ่งแวดล้อมจะท าหน้าที่ในการให้การอบรมและการศึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมกับพัฒนาบุคลากรในการน ากระบวนการการมีส่วนร่วม

                       รวมถึงการจัดกระบวนการปลูกจิตส านึกและจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม การให้องค์กรปกครองส่วน
                       ท้องถิ่นได้มีบทบาทหลักในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการทรัพยากรธรรมชาติและ

                       สิ่งแวดล้อมในชุมชนในลักษณะการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                              กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชนและชุมชน จ าเป็นต้องมีการรองรับสิทธิ
                       ทางกฎหมายให้กับชุมชน แต่ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีการกล่าวถึงสิทธิทางกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ

                       หากแต่ยังขาดการระบุสิทธิทางกฎหมายโดยเฉพาะในระดับของพระราชบัญญัติลงมา  ดังนั้นจึง

                       จ าเป็นต้องมีการปฏิรูปด้านกฎหมายเพื่อรองรับสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการ
                       ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมายที่แท้จริงในด้านทรัพยากรป่าไม้

                                แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการก าหนดหน้าที่ของรัฐไว้แล้ว รัฐจะต้องด าเนินการตามหน้าที่

                       ของรัฐ  พร้อมทั้งเห็นว่าหน้าที่ของรัฐจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินหรือไม่นั้น
                       ขึ้นอยู่กับทัศนคติของรัฐ แต่กลไกที่รัฐสร้างขึ้นในแต่ละภารกิจคือกลไกให้ประชาชน และชุมชน

                       เข้ามามีบทบาทในภารกิจของรัฐให้มากที่สุดก็จะเป็นการป้องกันการโต้แย้งตามสิทธิของประชาชน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11