Page 5 - kpi20680
P. 5
(4)
องค์ความรู้ในการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างมีความสัมพันธ์
เชื่อมโยงกันจนเกิดเป็นความหลากหลายของรูปแบบการจัดการในแต่ละท้องถิ่นโดยมิติการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรชุมชนนั้น เป็นปัจจัยหลักในการด ารงชีวิต ทั้งทรัพยากรธรรมชาติมี
ความสัมพันธ์กับขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการจัดการด้วยกฎหมายระดับ
ส่วนกลางหรือระดับท้องถิ่นจึงไม่อาจประสบความส าเร็จในการจัดการทรัพยากรได้เพราะบริบท
แต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน
การจัดการทรัพยากรที่มีลักษณะกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นและชุมชน โดยประชาชนมีส่วน
ร่วมโดยตรงเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม เช่น การจัดการป่าไม้ การจัดการน ้า ลักษณะพิเศษของการ
จัดการทรัพยากรในท้องถิ่นนี้ คือ ประชาชนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ มีการจัดการใน
รูปแบบต่างๆ กลุ่มประเพณี ผู้อาวุโส มีการร่างกฎระเบียบในการจัดการของตนเอง มีการลงโทษ
และปรับผู้กระท าผิดเอง มีการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันโดยเป็นกรรมสิทธิ์รวมของชุมชนเป็น
หลัก การจัดการทรัพยากรที่ยึดหลักในการควบคุม การใช้อ านาจ การจัดการ และการแสวงหา
ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการตรวจและควบคุมซึ่งกันและกันของสมาชิกองค์กร
ข้อค้นพบการวิจัยในการจัดการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระบบ
ความสัมพันธ์และการพึ่งพา ความสัมพันธ์ประชาชนกับการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประชาน
กับทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการจะต้องมีความครอบคลุมการมองปัญหาและแก้ปัญหาอย่างเป็น
องค์รวม ควรร่วมมือระหว่างประชาชนโดยสร้างเวทีการเรียนรู้ของประชาชนหรือชุมชนเดียวกัน มี
การสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยน การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรพร้อมไปกับการสร้าง
ความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อการด ารงชีพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
และทรัพยากรธรรมชาติ
การกระจายอ านาจ การบริหารนับเป็นสิ่งที่คุกคามต่อการอยู่รวดของสังคมหรือองค์การ
เนื่องจากรัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถตอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะของ
ความหลากหลายสูงและไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ประชาชน
ได้มีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร หรือสิ่งมีคุณค่าในสังคมก็นับเป็นพื้นฐานของระบบการเมือง
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า กลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขระบบ
การศึกษาและระบบทรัพยากรให้ท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากยังขาดมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการ
ได้แก่ มาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการก าหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่าง
จริงจังเพราะเมื่อประชาชนร่วมคิดและเสนอแนะให้กับภาครัฐไปแล้ว ภาครัฐในปัจจุบันไม่ได้