Page 273 - kpi20542
P. 273
ตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าดังกล่าวจะมีคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบเขียนโครงการ
โดยองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาเป็นผู้ให้เสนอแนะทางด้านระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลข่วงเปาเมื่อได้สรุปผลโครงการเพื่อให้พัฒนาชุมชน
ผลักดันโครงการดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการระดับอำเภอและจังหวัด
หลังจากนั้น ประธานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและสมาชิกฯ ได้เสนอให้มีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการบริหารร้านค้า ประสานกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน สถานประกอบการ
เพื่อขอเช่าพื้นที่ดำเนินงานศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลข่วงเปา
ขั้นตอนที่ 3 ผลงานหมู่บ้าน คือฐานความสำเร็จ “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2559 เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
ได้แก่ กองช่างองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาดำเนินการเขียนแบบ ฝ่ายบริหาร อบต.ฯ
ดำเนินการทำสัญญาเช่าพื้นที่เอกชน ประสานกับกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน และคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและสมาชิกฯ เข้าตกแต่งและจัดสถานที่สินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน
ผลของการดำเนินงาน
ความสำเร็จอันเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2559 ที่ได้มีการเปิดศูนย์จำหน่าย
สินค้าชุมชนตำบลข่วงเปาอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่กองทุนหมู่บ้านรวมกลุ่มกัน
คิดเป็นร้อยละ 73.33 (ประเภทผลผลิต) มีการรวมกลุ่มของกองทุนหมู่บ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ของกองทุนหมู่บ้านในตำบล (ตัวชี้วัดผลผลิต) และมีร้านค้าองค์กรชุมชน รวม 11 กองทุน (จาก
15 กองทุน) 11 กลุ่มอาชีพ ภายในศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลข่วงเปาจะมีผลิตภัณฑ์สินค้า
ของแต่ละหมู่บ้านมาจำหน่าย สินค้าโอทอปของตำบลข่วงเปาที่สำคัญ ได้แก่ ชุดพื้นเมือง กระเป๋า
ผ้าฝ้าย ผ้าฝ้ายทอด้วยกี่กระตุก ผ้าคลุมไหล่ ข้าวแต๋นน้ำลำไยธัญพืช เป็นต้น รวมทั้งการมี
ศูนย์จำหน่ายของฝาก การเปิดมินิมาร์ทของชุมชน อาหารแช่แข็งสด ตลาดสดทุกวันพุธและ
วันอาทิตย์ ร้านค้าของผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ โดยมีช่องทางการตลาดเพื่อให้มีการวาง
จำหน่ายสินค้าโอทอปของตำบลข่วงเปา จุดเด่นอีกประการ คือ การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก กรณีศึกษา: ด้านเศรษฐกิจ
ให้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการในศูนย์จำหน่ายสินค้าฯ ได้แก่ การปรับพื้นที่ให้มีลานจอดรถที่สะอาด
สะดวกอยู่ติดริมถนน มีป้ายเชิญชวนอย่างเห็นได้ชัดเจนเพื่อให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาใช้
บริการและแวะเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน มีอาหารและเครื่องดื่มจำหน่าย มีร้านกาแฟ
ติดเครื่องปรับอากาศ ดำเนินการจัดทำเวรยามเพื่อทำความสะอาดพื้นที่ เก็บขยะ เป็นต้น
ผลความสำเร็จที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ชุมชนมีรายได้ และมีงานเพิ่มขึ้น กล่าวคือ
มีการจ้างงานมาเป็นลูกจ้างในศูนย์จำนวน 6 คน กลุ่มสตรีแม่บ้าน 11 อาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก
การจำหน่ายสินค้าในศูนย์ ผู้ประกอบการปลีก/ส่ง มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น
สถาบันพระปกเกล้า 2