Page 271 - kpi20542
P. 271
กองทุนหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาร่วมกันประชุมเพื่อให้
ได้แผนปฏิบัติการของศูนย์ดังกล่าวการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน โดยใช้กระบวนการคิด
ร่วมกันของชุมชนทำให้มีการเรียนรู้ถึงแนวทางในการส่งเสริมอาชีพและหาช่องทางรายได้ให้แก่
ชุมชนร่วมกัน ภายใต้หลักการที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาดำเนินการ คือ “5 ร-2 ใจ”
ร่วมคิด ร่วมมือ ร่วมทำ ร่วมติดตาม ร่วมเป็นเจ้าของ และให้ความจริงใจ สร้างความไว้วางใจ
กระบวนการดำเนินงานเครือข่ายโครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนกองทุนหมู่บ้าน
ตำบลข่วงเปา
นอกเหนือไปจากเครือข่ายสำคัญ คือ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งแต่ละหมู่บ้านมีหน้าที่และความรับผิดชอบในกระบวนการ
ดำเนินงานแล้ว ทางกลุ่มอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการออกแบบสินค้า การผลิต คัดเลือกสินค้า
จัดส่งสินค้า การวางกรอบการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย การบริหารงบประมาณให้แก่ศูนย์จำหน่าย
สินค้าฯ หากพิจารณาบทบาทหน้าที่ของแต่ละเครือข่าย มีรายละเอียดดังนี้
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
๏ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน (4 หมู่บ้านไปดำเนินการ
คิดโครงการทำเอง ทั้งนี้ หมู่ 6 ไม่ได้รับงบประมาณ ส่วนหมู่ 7 9 11 นำกลับไปคิดเอง) ดำเนินการ
เรื่องจัดหาวัสดุอุปกรณ์ใช้สอย (ค่าเครื่องคิดเลข กระดาษ ปากกา) จำนวน 5,000 บาท/ปี
การกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนบุคลากรประจำศูนย์ จำนวน 6 คนๆ ละ 7,000 บาท การดูแล
ค่าน้ำ ค่าไฟ จำนวน 15,000 บาท/เดือน
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
๏ ดูแลค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ 950,000 บาท การทำสัญญาค่าเช่าสถานที่ 150,000 บาท/
4 ปี
๏ ค่าจัดซื้อสินค้าเพื่อจำหน่าย 2,200,000 บาท กรณีศึกษา: ด้านเศรษฐกิจ
กลุ่มอาชีพ/กลุ่มสตรี
๏ การผลิตสินค้า การจัดส่ง-ขนย้ายสินค้า การตรวจสอบอายุและบรรจุหีบห่อของสินค้า
การส่งเสริมการตลาด การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ความสะอาดของสินค้า
พัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง
๏ การให้คำแนะนำ การเป็นที่ปรึกษาเรื่องการตลาด คุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์
การติดตามและประเมินผล
สถาบันพระปกเกล้า 2