Page 270 - kpi20542
P. 270
ด้วยเหตุนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 ให้มีโครงการเพิ่ม
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยรัฐบาล
จะสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนใช้ในการลงทุน
ด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน และเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการ
ส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ในชุมชนที่ดีขึ้น โดยมอบให้สำนักงาน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
จึงเป็นที่มาของเครือข่ายโครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนกองทุนหมู่บ้านตำบลข่วงเปา
ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาในช่วง
เวลานั้น เป็นแผนงานที่เกิดขึ้นจากเครือข่ายหลัก 2 ส่วนที่สำคัญ คือ สมาชิกคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้าน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา และกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้แก่ชุมชน สร้างรายได้ สร้างงาน
สร้างอาชีพ และการดำเนินการจัดตั้งศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าของชุมชนจากทุกหมู่บ้านเพื่อให้
ทุกหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและเป็นเจ้าของ รวมทั้งสอดคล้องกับการสร้างความ
เข้มแข็งทางเศรษฐกิจท้องถิ่นตามแนวทางประชารัฐที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นรายได้
ในท้องถิ่น
หากย้อนกลับไปก่อนที่จะเริ่มโครงการดังกล่าว
ทางองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาได้มีการฝึกฝน
และพัฒนาสินค้าของแต่ละหมู่บ้านมาก่อนแล้ว
กรณีศึกษา: ด้านเศรษฐกิจ และประชาสัมพันธ์ สถานที่ขายสินค้า แต่ละหมู่บ้าน
แต่ยังประสบปัญหาการไม่มีช่องทางการโฆษณา
ต่างผลิตและต่างคนต่างทำ เมื่อทางรัฐบาลได้โอนเงิน
เข้าสู่กองทุนหมู่บ้าน ทำให้คณะกรรมการจัดทำแผน
พัฒนาท้องถิ่นได้ประชุมหารือและเสนอแนวความคิด
ให้มีการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าของกลุ่มอาชีพ
ผลิตภัณฑ์ชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน เพราะจะได้นำมา
จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว จึงได้มีหารือเรื่องละเอียด
ของวิธีการดำเนินการ รายการสินค้า ราคา วิธีการ
จำหน่าย จัดทำระบบการดูแลสินค้า การเลือกทำเล
ที่ตั้งเพื่อสร้างศูนย์จัดจำหน่าย ทางประธาน
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน สมาชิกคณะกรรมการ
2 สถาบันพระปกเกล้า